คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Commission: NHC) หรือ คสช. เป็นกลไกการดำเนินงานระดับชาติภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี มีองค์ประกอบตามมาตรา 13 ที่มาจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคการเมือง/ราชการ ภาควิชาการ/วิชาชีพ และภาคประชาชน/สังคม โดยมีที่มาทั้งจากการดำรงตำแหน่งและการสรรหาด้วยวิธีการเลือกกันเอง ดังนี้
- ประธานกรรมการ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี หรือรองนายรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
- รองประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- กรรมการ ประกอบด้วย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่นายกรัฐมนตรีกำหนด จำนวนไม่เกิน 5 คน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ขอยุติชั่วคราว ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องไม่เป็นกรรมการของหน่วยงานของรัฐ)
- ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เลือกกันเอง จำนวน 4 คน
- ผู้แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยาและหัวหน้าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะทำนองเดียวกัน
- ผู้แทนนายกเทศมนตรี
- ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
- ผู้แทนองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรละ 1 คน
- ผู้แทนแพทยสภา
- ผู้แทนสภาการพยาบาล
- ผู้แทนทันตแพทยสภา
- ผู้แทนสภาเภสัชกรรม
- ผู้แทนสภาเทคนิคการแพทย์
- ผู้แทนสภากายภาพบำบัด
- ผู้แทนสภาการแพทย์แผนไทย
- ผู้แทนสภาการสาธารณสุขชุมชน
- ผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเลือกกันเองจำนวน 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขโดยเลือกกันเอง จำนวน 6 คน
- ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ไม่ว่าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ซึ่งเลือกกันเอง จำนวน 13 คน
- เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้รับการคัดเลือกตามมาตรา 31 เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
คสช. มีบทบาทหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ ให้ดำเนินการพัฒนาหรือกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ โดยคำนึงถึงสุขภาวะของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ คสช. ยังทำหน้าที่เชื่อมโยงให้คน กลุ่มคน และหน่วยงาน จากทุกฝ่ายในสังคมเข้ามาร่วมทำงานเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ คสช. จึงเป็นเสมือนกลไกที่ช่วยเสริมให้การทำงานของรัฐบาล หน่วยงาน องค์กรและภาคีต่างๆ เดินไปข้างหน้าโดยบูรณาการการพัฒนาทุกมิติของสุขภาวะไปพร้อมๆ กัน รายชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย
- 12975 views