สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

ภารกิจของ สช.

สานพลังความรู้ นโยบาย และสังคม เพื่อนำไปสู่นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา

สมัชชาสุขภาพ

เครื่องมือพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม

ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ

กรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ

วิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวก และทางลบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม

สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

สิทธิด้านสุขภาพทั้ง ๘ เรื่องตามมาตรา ๕-๑๒ เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสนับสนุนให้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ

เขตสุขภาพเพื่อประชาชน

เขตพื้นที่สำหรับดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพให้เกิดการบูรณาการ
สุขภาพองค์รวม ภาคีเครือข่ายองค์รวม Holistic Health Holistic Partnership

คุยกับเลขาฯ

ผ่านมา ๑๗ ปีที่พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ กฎหมายฉบับนี้ให้มุมมองใหม่ต่อสุขภาพแบบ holistic health “สุขภาพหมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล” มุมมองต่อสุขภาพที่กว้างขึ้น ทำให้ขอบข่ายการทำงานกว้างขวางขึ้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายทั้ง ภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาควิชาการ มุ่งพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดยมีกลไกสำคัญคือ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)