- 41 views
เมื่อวันที่ ๒๕ ส.ค. ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติให้จัดตั้ง “เขตสุขภาพ เพื่อประชาชน” ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อให้เป็นกลไกบูรณาการทำงานในระบบสุขภาพ ระดับพื้นที่ โดยใช้กลุ่มจังหวัดเป็นฐานการทำงาน เน้นการ สานภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข สปสช. สสส. สช. มหาวิทยาลัย ท้องถิ่น เอกชน และภาคประชาสังคม ที่ทำงานด้านสุขภาพ มีคณะกรรมการพหุภาคี ทำหน้าที่ ๕ ร่วม ได้แก่ (๑) ร่วมประสานข้อมูล ภารกิจ และการ ทำงานของแต่ละองค์กร (๒) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ ทำงานเสริมกัน (๓) ร่วมกำหนดทิศทางการทำงานสู่ เป้าหมายเดียวกัน (๔) ร่วมบูรณาการการทำงานในพื้นที่ เดียวกัน และ (๕) ร่วมระดมสรรพกำลังทั้งคน วิชาการ งบประมาณ และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนงานให้เป็น รูปธรรม ตามภารกิจของแต่ละองค์กร
งานนี้พัฒนาขึ้นมาจากความร่วมมือของหลาย หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลัก ประกันสุขภาพ สสส. กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกัน สังคม และ สช. โดยการชี้นำนโยบายมาจากรองหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าฝ่ายจิตวิทยาสังคม (พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย) ที่กำกับดูแลงานด้าน สุขภาพและสังคม
“กลไกนี้เป็นเหมือนการรวมแสงเลเซอร์ คือ การบูรณาการภารกิจของทุกหน่วยงานและองค์กรต่างๆ “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” กลไกแนวนอน สานพลังสร้างสุขภาวะ ที่ทำงานด้านสุขภาพในพื้นที่เดียวกันเข้าด้วยกัน (Functional Integration หรือ Area Function Participation) เหมือนเส้นด้ายแนวนอน ร้อยเชื่อมเส้นด้ายแนวตั้งเข้า ด้วยกัน คิดด้วยกัน กำหนดทิศทางและทำงานไปทาง เดียวกัน หนุนเสริมกัน ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่ใช้อำนาจเหนือ กัน โดยอาจมีหน่วยเลขานุการกิจร่วมทำหน้าที่บริหาร จัดการ อาจมีการใช้กระบวนการพัฒนานโยบายแบบมี ส่วนร่วมเป็นเครื่องมือเชื่อมการทำงานร่วมกัน”
หลักคิดสำคัญเบื้องหลังการจัดตั้งเขตสุขภาพ เพื่อประชาชน คือ ความเชื่อมั่นในพลังการทำงานร่วมกัน แบบเคียงบ่าเคียงไหล่ สานพลังกัน ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่าย ทำงานได้ดีและมากขึ้น ต่างจากเดิมที่แยกกันคิด แยกกัน ทำเป็นเสี่ยงๆ เป็น “การอภิบาลระบบสุขภาพแบบเครือข่าย” (Governance by network) เน้นการทำงาน แบบหุ้นส่วน ไม่ไช่แบบบังคับบัญชา ขณะนี้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนารูปแบบ การจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติจากภาค ประชาชน เป็นประธาน คณะทำงานประกอบด้วยผู้แทน จากหน่วยงานหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, สปสช., สสส., สปส., กรมบัญชีกลาง, มหาดไทย, พม., อบจ., เทศบาล, อบต., กทม., โรงเรียนแพทย์, แพทยสภา, สภา การพยาบาล, หมออนามัย, ตัวแทนจากภาคประชาสังคม และเอกชน เพื่อเข้ามาร่วมคิด ร่วมออกแบบกลไกการ ทำงานที่เป็นรูปธรรม โดยจะมีการทำงานทางวิชาการ รองรับและเปิดเวทีการรับฟังความเห็นจากทุกๆ ฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มจัดเวทีแรกในเวทีรับฟังความเห็นเพื่อ พัฒนาข้อเสนอนโยบายเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗ ในวันที่ ๑๒ ก.ย. ๒๕๕๗ จากนั้นจะมีเวทีรับฟัง ความเห็นอีกหลายครั้ง ร่วมกับหลายกลุ่มเครือข่าย จน ได้ร่างข้อเสนอสุดท้ายเพื่อนำเข้าไปสู่การพิจารณาของที่ ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ ธ.ค. ๒๕๕๗ ต่อไป
“การทำงานครั้งนี้ ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันของทุกฝ่าย ที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานด้าน สุขภาพ ลดช่องว่างระหว่างกัน ก้าวข้ามปัญหาต่างๆ ชวนกันคิดและทำสิ่งใหม่ ที่จะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม โดย ใช้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ คาดว่าในปี ๒๕๕๘ จะมีกลไกเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่ เป็นรูปธรรมสามารถลงมือทำงานได้ทันที” ผู้สนใจต้องการร่วมแสดงความคิดเห็นสามารถ ติดต่อได้ที่ ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานพัฒนารูปแบบ การจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน สำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ e-mail : rhb@ nationalhealth.or.th หรือ โทร. ๐-๒๘๓๒-๙๐๗๖, ๐-๒๘๓๒-๙๐๗๒ ครับ