มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

โควิด-19 เขย่า ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ เตรียมพัฒนาข้อเสนอรับมือวิกฤติการณ์อนาคต

   การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นประเทศที่สุ่มเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหาร
 

‘อนุทิน’ นั่งหัวโต๊ะถกขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ

   “นายอนุทิน ชาญวีรกูล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธาน คมส. เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ 2 ชุด ที่ประชุมรับทราบตัวอย่างความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติฯ “รมว.สธ.” ย้ำ เป้าหมายคุมโควิด หน้ากากอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ ระบุ จะป่วยกี่คนก็ได้แต่ต้องคัดกรองให้เจอ-รักษาให้หาย
 

ปั้นประเด็นร้อนสู่สมัชชาสุขภาพฯ 13 ‘ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต’

   สช. ชวนภาคีเครือข่ายสุขภาพ ระดมสมองพัฒนาเอกสาร “ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต” หวังขับเคลื่อนนโยบายแบบล่างขึ้นบน ตั้งเป้าสร้าง active citizen สู้ภัย ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาเคาะเป็นร่างระเบียบวาระในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13
 
   แม้ไทยจะมีภาพจำของการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำถึงขั้นถูกยกให้เป็นครัวโลก แต่ในสถานการณ์ไม่ปกติ เช่น โควิด-19 ระบาด ระบบอาหารต่างเต็มไปด้วยอุปสรรคและข้อจำกัดใหม่
 

เจาะร่าง ‘กฎหมาย’ กำกับเกม ควบคุมผลกระทบ ‘อีสปอร์ต’

   ในปัจจุบัน กิจกรรมการแข่งขันวิดีโอเกมออนไลน์ชิงรางวัล หรือที่รู้จักในชื่ออีสปอร์ต เป็นความท้าทายต่อสุขภาวะเด็ก เนื่องจากสามารถเข้าถึงเด็กได้โดยตรง และจากการส่งเสริมการขายทำให้เด็กๆ ใช้เวลาที่มากเกินความจำเป็นไปกับการเล่นเกม โดยไม่รู้เท่าทันว่า อาจจะส่งผลกระทบทางลบต่อตนเอง และตกอยู่ภายใต้การสื่อสารเพื่อการโฆษณาอย่างไร้การควบคุม และการจัดการแข่งขันที่ยังขาดข้อกฎหมายและกฎเกณฑ์เพื่อปกป้องคุ้มครอง
 

สช. จับมือภาคีเดินหน้าดันกฎหมายกำกับดูแลอีสปอร์ต คุ้มครองเด็กและเยาวชน

   มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมุ่งปกป้องเด็กและเยาวชนไทยจากโลกโซเซียลมีเดียอย่างไร้การควบคุม มีการแข่งขันเกมออนไลน์หรืออีสปอร์ตที่ขาดกฎหมายในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง ส่งผลด้านลบต่อสุขภาวะ และเพิ่มปัญหาสังคม
 

บนเส้นทาง...สู่ ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ครั้งที่ 58 มีมติหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการป้องกันและควบคุมมะเร็ง และการประชุมครั้งที่ 60 มีการรณรงค์ยกเลิกใช้แร่ใยหินทุกชนิดเพื่อควบคุมและกำจัดโรคที่จะเกิดจากแร่ใยหิน ขณะเดียวกันรายงานการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กระทรวงสาธารณสุขปี 2556 พบว่า สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคปอดจากแร่ใยหินในประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งเยื่อเลื่อม 12 คน โดยมีความสัมพันธ์กับการสัมผัสแร่ใยหิน จำนวน 5 คน
 
   ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องนี้มากว่า 10 ปีแล้ว ตัวอย่างสำคัญปรากฏในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3

Subscribe to มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ