คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

นโยบาย รมต. สา’สุขที่ทันยุคสมัย

 ที่ผ่านๆ มา เมื่อมีรัฐบาลเข้ามาบริหาร ประเทศ มีรัฐมนตรีของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่ ขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพผ่านระบบและโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก ตามแนวทางการ อภิบาลระบบโดยรัฐ (governance by government) 
 

“เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” กลไกแนวนอน สานพลังสร้างสุขภาวะ

เมื่อวันที่ ๒๕ ส.ค. ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติให้จัดตั้ง “เขตสุขภาพ เพื่อประชาชน” ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อให้เป็นกลไกบูรณาการทำงานในระบบสุขภาพ ระดับพื้นที่ โดยใช้กลุ่มจังหวัดเป็นฐานการทำงาน เน้นการ สานภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข สปสช. สสส. สช.

ปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ค. ผมเล่าผ่าน facebook ถึง ความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช. ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ในวันนั้น ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิ.ย. ที่ผ่านมา และเห็นชอบกับมติที่ ๖.๘ “ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การ ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ผ่านฉันทมติจากองค์กร ภาคี เครือข่ายทุกภาคส่วน จำนวน ๒๓๔ กลุ่มเครือข่าย เพื่อ เตรียมเสนอต่อ ครม.

ปฏิรูปไม่ใช่ปฏิลูบ

 ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ (Health Systems Reform) ต่อเนื่องมาเป็นสิบปีแล้ว หัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพ คือ การปรับกระบวนทัศน์เรื่อง สุขภาพใหม่ จากสุขภาพที่เป็นเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย มดหมอหยูกยา การแพทย์การ สาธารณสุข ไปสู่สุขภาพที่มีความหมายกว้างว่าเป็นเรื่อง “สุขภาวะ” ทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ สุขภาพจึงเป็นเรื่องของทุกคน ทุกภาคส่วน เป็นเจ้าของ ร่วมกันมีสิทธิที่จะมีสุขภาพดี และมีหน้าที่ร่วมกันทำให้เกิดสุขภาพ/สุขภาวะที่ดี (All for Health) 
 

สมัชชาสุขภาพ ตัวอย่างหนึ่งของ ‘พื้นที่ประชาธิปไตยใหม่’

ท่ามกลางความขัดแย้งในบ้านเมืองที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน แต่แสงสว่างก็มีมากขึ้นตามลำดับ ถ้ามองสังคมอย่างมีความหวัง (Hope) 

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้มีเวทีเสวนา เรื่อง “ประชาธิปไตยแบบ เครือข่าย: Democracy by Networking” โดย มี ศ.สุริชัย หวันแก้ว กรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็น ผู้ถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ของระบบการอภิบาลสุขภาพของ ดร.สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล และ ดร.นิธิ เนื่องจำนงค์ 

ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รองรับสังคมผู้สูงอายุ

เมื่อปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา คสช. ได้พิจารณาให้ หยิบยกประเด็น “สุขภาพผู้สูงอายุ” ขึ้นมาเป็น ๑ ใน ๔ เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยผลักดันให้ มีการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องนี้ ด้วยเล็งเห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูง อายุแล้ว และจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) จึงจำเป็น ต้องมีการเตรียมตัวและวางแผนรองรับให้ดี