คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หัวเลี้ยว หัวต่อ

   เผลอแพล็บเดียวเวลาทำงานของผมที่สช.ได้ผ่านไปแล้วหนึ่งเดือน ภารกิจประจำวันต่างๆทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่ประดังกันเข้ามา ทำให้ได้เรียนรู้สถานะ บทบาทของ สช. และได้สัมผัสปัญหา ข้อจำกัดการทำงานของภาคีเครือข่ายในสนามจริงเกือบครบทุกมิติแล้ว นับเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่แผนการส่วนตัวต่างๆที่ตั้งใจว่าจะต้องทำในช่วงสามเดือนแรกที่เข้ามารับหน้าที่นั้น ก็ยังคงสามารถเดินไปได้ด้วยดีตามเป้าหมายครับ
 

รับไม้ ต่อมือ

   เพื่อนสมาชิกวารสารสานพลังและท่านผู้ร่วมขบวนสังคมสุขภาวะที่มีเกียรติทุกท่านครับ
 
   ก่อนอื่นใด ผมต้องขอรายงานตัวอย่างเป็นทางการว่า บัดนี้ผมได้เข้ามารับภารกิจต่อจากคุณหมออำพล จินดาวัฒนะ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากได้รู้ตัวว่าต้องเข้ามาทำหน้าที่เลขาธิการ สช. ต่อจากท่านเมื่อเจ็ดเดือนก่อน ซึ่งแม้ว่าจะดูเนิ่นนานไปสักนิด แต่ก็ทำให้มีเวลาเตรียมตัวได้อย่างเต็มที่ครับ
 

อำลา

   คุยกับเลขาฉบับนี้ เป็นฉบับสุดท้ายของผมในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
 
   ผมมาทำงานปฏิรูประบบสุขภาพต่อเนื่องนาน 16 ปีเศษ ตั้งแต่เป็น ผอ. สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ (สปรส.) 7 ปี เป็นเลขาธิการ คสช. 8 ปีเศษ นับว่ายาวนานทีเดียว
 
   การได้มีโอกาสทำงานสำคัญนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
 

เตรียมส่งไม้

   ผมมารับหน้าที่เป็นแกนขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี 2543 มีภารกิจจัดกระบวนการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำงานปฏิรูประบบสุขภาพในทิศทาง “สร้างนำซ่อม” โดยขยายความหมายสุขภาพ จากเรื่อง “มดหมอหยูกยา” เป็นเรื่องของสุขภาวะทางกาย ใจ จิตวิญญาณ (ปัญญา) และสังคม
 
   พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติประกาศใช้เมื่อปี 2550 มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นกลไกหลักในการเชื่อมทุกภาคส่วน อันได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ วิชาชีพ และภาคสังคม เข้ามาร่วมทำงานด้านสุขภาพ ตามแนวทางการอภิบาลแบบเครือข่ายหรือหุ้นส่วน
 

สานพลังรับมือสังคมสูงวัย

   วันนี้สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก เมื่อ30-40 ปีก่อน คนมีลูกมาก ยากจน แต่มาวันนี้ คนมีลูกน้อย ที่พร้อมไม่ค่อยท้อง ที่ท้องไม่ค่อยพร้อม แต่คนจนก็ยังมาก
 
   วันนี้มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 15แล้ว อีกเพียง 5 ปีจะมีเพิ่มเป็นร้อยละ 20 และในปี 2578 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 30
 
   สังคมไทยสูงวัย(ชรา)อย่างรวดเร็ว คนวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง เด็กเกิดน้อย ในขณะที่สังคมต้องการการผลิต การทำงาน และการพัฒนาทุกสาขาเพิ่มมากขึ้นไปตามโลก
 

ใบไม้ต้นเดียวกัน

   เมื่อปลายเดือน กพ.59 รมว.สธ. (ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร) เชิญผู้บริหาร สช.,สปสช.,สวรส.,สสส.,สรพ.,สพฉ. พร้อมกับปลัด กสธ.,รองปลัดฯ และทีมบริหารของ รมต. (ผช.รมต.,ที่ปรึกษา) ประชุมร่วมกัน เพื่อรับฟังงานของแต่ละองค์กร ได้แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันแบบสานพลัง (synergy) ให้ไปในทิศทางเดียวกัน สู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างสุขภาวะของคนไทย
 
   องค์กรเหล่านี้คือทุนของประเทศที่เป็นองคาพยพเดียวกันในระบบสุขภาพแห่งชาติ คือ ใบไม้ต้นเดียวกัน