คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

น่าเป็นห่วง

   ประเทศไทยตกหล่ม ติดขัด ไม่ขยับไปไหนมาหลายปีแล้ว จนบางคนบอกว่าจะกลายเป็น “หลุมดำของอาเซียน” ไปแล้ว
 
   เรามีความขัดแย้งแตกแย้งกันมาก สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคือ การพัฒนาที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม รวยกระจุก จนกระจาย ยิ่งพัฒนา คนส่วนน้อยได้มาก คนส่วนมากได้น้อย ช่องว่างห่างมากขึ้นไปเรื่อย
 
   ไม่ว่ารัฐบาลใด มาจากไหน ก็แก้ไม่ได้ ยิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งเร่งพัฒนา ทำโน่นทำนี่แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด รวดเร็ว ไม่ฟังใคร ยิ่งอาจทำให้ปัญหาหนักขึ้น ชุมชนท้องถิ่น คนเล็กคนน้อยได้รับผลกระทบจากนโยบายและการดำเนินงานของรัฐมากขึ้น เหลื่อมล้ำมากขึ้น แตกแยกมากขึ้น
 

จากปฏิรูปสา’สุข สู่ปฏิรูปศึกษา

   เมื่อเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ผมพาอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อาจารย์ยักษ์) กัลยาณมิตร ของผม ผู้มีตำแหน่งประธานกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ สปท. ไปทัวร์ การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8
 
   
 

หนุนเสริมเติมกัน

   พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้ความหมายสุขภาพ (Health) ว่าเป็นเรื่องสุขภาวะ 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม สอดคล้องความเป็นจริงที่ว่าเรื่องสุขภาพ มิใช่แค่เรื่องมดหมอ หยูกยา การแพทย์และการสาธารณสุข (Public Health) เท่านั้น
 
   นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีกลไกและเครื่องมือที่เปิดให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy Public Policy) ซึ่งกว้างกว่าเรื่องนโยบายด้านสาธารณสุข (Public Health Policy) ที่มีกระทรวงสาธาณสุขดูแลเป็นหลักอยู่แล้ว
 

สุขภาพในกรอบแนวคิดใหม่

   ถ้ามองด้วยกรอบความคิดเดิม สุขภาพมีความหมายเกี่ยวกับเรื่องมดหมอ หยูกยา การป่วยไข้และการรักษาพยาบาล การสาธารณสุข สุขศึกษา การฉีดวัคซีน การจัดการงานสุขาภิบาล การควบคุมป้องกันโรค เป็นอาทิ
 
   เป็นกรอบคิดที่มองเรื่องสุขภาพเชื่อมโยงกับวิทยาการด้านชีวการแพทย์ (Biomedical) เป็นหลัก แต่ในความจริง สุขภาพเป็นผลรวมของการพัฒนาทั้งปวง ทุกระบบ ทุกเรื่อง ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งสิ้น เรียกภาษาวิชาการว่าปัจจัยทางสังคมที่กระทบต่อสุขภาพ (Social Determinants of Health)
 

ให้เลี้ยงเป็ดและสุกร!

   เป็นความเข้าใจกันมานานแล้วว่า นโยบายสาธารณะหมายถึงทิศทาง แนวทาง ข้อกำหนด และการกระทำของรัฐบาล ราชการ หน่วยงาน และผู้มีอำนาจ ว่าจะทำอะไรให้กับประชาชนและสังคม มีทั้งที่เขียนไว้ในแผน ในคำแถลงต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ
 
   เมื่อปี ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีจึงต้องเรียกประชุมชาวบ้าน ประกาศว่า “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร”
 
   นั่นเป็นนโยบายสาธารณะแนวดิ่ง เป็นนโยบายสาธารณะรูปแบบหนึ่งที่มองประชาชนเป็นเพียงผู้รับนโยบายและรับผลจากนโยบาย เป็นแนวคิดเก่าของการอภิบาลโดยรัฐ (governace by government)
 

ธรรมนูญก้าวหน้า

   ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ....ไม่ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องรอให้มีคณะกรรมาธิการใหม่ ๒๑ คน มายกร่างก่อนนำไปทำประชามติ ซึ่งดูเหมือนว่าเส้นทางยังอีกยาวไกลนัก
 
   และไม่ว่าจะสำเร็จ ประกาศใช้เมื่อใด สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ ก็เป็นเรื่องไกลตัวประชาชนและเข้าใจยาก
 
   แต่ทุกวันนี้มี “ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่” ที่เป็นผลพวกจากการทำงานตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ แพร่ขยายไปทั่วประเทศ