จันทร์ ถึง ศุกร์: 9.00 น. ถึง 17.00 น.
เสาร์ อาทิตย์ หยุด
จันทร์ ถึง ศุกร์: 9.00 น. ถึง 17.00 น.
เสาร์ อาทิตย์ หยุด
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) หมายถึง การคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบาย แผนงานและโครงการ ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งทางลบ ทางบวก และความเป็นธรรมจากการได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือที่หลากหลายและมีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนและเสนอต่อกลไกที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะดำเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ให้การรับรองสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพของประชาชนไว้ใน 3 มาตรา ได้แก่
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นกระบวนการแสวงหาข้อมูลและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ที่สนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น นอกเหนือจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงแล้ว ภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ยังสามารถนำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม และในระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระหว่างประเทศ ซึ่งการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ในขั้นตอนต่างๆ จะเอื้อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม ทั้งในขั้นตอนของการประเมินผลกระทบ และการติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันหรือลดผลกระทบเชิงลบ อย่างต่อเนื่องในระยะยาวอีกด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ถูกกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการของกลไกที่เกี่ยวข้อง ในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ทั้งในส่วนที่ถูกกำหนดให้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายงานเพื่อขออนุมัติ/อนุญาตการดำเนินงานโครงการ ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลว่านโยบาย แผนงาน หรือกิจกรรมที่จะดำเนินการนั้น มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติฯ มาตรา 10 และการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติฯ มาตรา 11
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีหน้าที่ในการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพฯ เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง (๕) ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ
การพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ฉบับที่ 3 มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถบูรณาการการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เข้ากับการทำงานตามบทบาทภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นกลไกพัฒนาข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เหมาะสม รวมถึงเอื้อให้เกิดการหนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย และการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม โดยเชื่อมโยงให้กลไกต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อน HIA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตในปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ที่ตั้ง 88/39 หมู่ 4 ซอยติวานนท์ 14 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี
โทรศัพท์ 02 832 9000
สช. เป็นองค์กรของรัฐในรูปแบบใหม่ อยู่ในกำกับนายกรัฐมนตรี เป็นองค์กรเลขานุการให้กับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)