ปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ค. ผมเล่าผ่าน facebook ถึง ความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช. ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ในวันนั้น ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิ.ย. ที่ผ่านมา และเห็นชอบกับมติที่ ๖.๘ “ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การ ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ผ่านฉันทมติจากองค์กร ภาคี เครือข่ายทุกภาคส่วน จำนวน ๒๓๔ กลุ่มเครือข่าย เพื่อ เตรียมเสนอต่อ ครม. และสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะมี ขึ้นเร็วๆ นี้ โดยมติดังกล่าวมีการกำหนดหลักการ ทิศทาง และแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพที่สำคัญ ๕ ประการ คือ 
   ๑) การปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ การ ป้องกันโรคและภัยคุกคามสุขภาพ เน้นส่งเสริมสนับสนุน ให้ทุกภาคส่วนนำหลักการ “ห่วงใยสุขภาพในทุกนโยบาย” หรือ Health in All Policy ไปแปลงสู่การปฏิบัติให้เป็น รูปธรรม และพัฒนาระบบงานและองค์กรที่ทำงานด้าน ระบาดวิทยา

    ๒) การปฏิรูประบบบริการ เน้นพัฒนาระบบ บริการปฐมภูมิ เชื่อมกับระบบบริการระดับอำเภอ และ ระบบบริการสุขภาพระยะยาว จัดวางแผนระบบบริการ สุขภาพของประเทศที่ครอบคลุมทั้งรัฐ เอกชน และ ภาคส่วนอื่นๆ (health service plan) ทบทวนนโยบาย ความเป็นเลิศด้านบริการสุขภาพในภูมิภาคเอเซีย เพื่อลด ผลกระทบต่อการบริการคนไทย ส่งเสริมการแพทย์แผน ไทย การแพทย์ทางเลือก และภูมิปัญญาท้องถิ่น 
    
    ๓) ปฏิรูประบบการสร้างและพัฒนาบุคลากร สุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับการวางแผนการผลิตและ พัฒนาคนทุกสาขา ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ การกระจาย ลดความเหลื่อมล้ำในการจัดบริการและในระหว่างวิชาชีพ เพิ่มบุคลากรที่ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้มีปริมาณ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ อย่างสมดุล สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพ และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ป่วยกับผู้ให้บริการ 
    
    ๔) ปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบ หลักประกันสุขภาพ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน โรค และการจัดการภัยคุกคามสุขภาพ ปรับปรุงระบบ ประกันสุขภาพของทุกกองทุนให้มีประสิทธิภาพ มีการ อภิบาลแบบมีส่วนร่วม ดูแลให้เกิดความยั่งยืนทางการ คลัง เกิดความเสมอภาคและมีมาตรฐานเท่าเทียมกัน พัฒนาระบบหลักประกันให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกคนที่อยู่บน ผืนแผ่นดินไทย และพัฒนาระบบบริหารกองทุนภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และ พ.ร.บ.กองทุนเงิน ทดแทน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพ

    ๕) ปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการ พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยให้ความ สำคัญกับการอภิบาลแบบเครือข่าย (governance by network) เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้บูรณาการการทำงาน ร่วมกันจนเกิดประสิทธิภาพและความโปร่งใส ลดการ รวมศูนย์อำนาจอภิบาลระบบสุขภาพโดยรัฐลง เน้นการ กระจายอำนาจและทรัพยากรให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการ ตนเองได้มากขึ้น ปรับสถานบริการของรัฐให้บริหาร จัดการได้คล่องตัว เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ ประชาชน กำหนดแผนและขั้นตอนถ่ายโอนสถาน พยาบาลสู่ท้องถิ่น และปรับเปลี่ยนสถานพยาบาลที่เป็น ราชการไปเป็นสถานบริการของรัฐที่บริหารจัดการได้ อย่างคล่องตัว (public autonomous management unit) 
    
    ผลสำเร็จจะเป็นอย่างไร เพื่อนภาคีเครือข่าย ต่างๆ ที่เป็นเจ้าของมติข้อเสนอเหล่านี้ ยังต้องมีหน้าที่ ร่วมกันในการติดตาม และผลักดันกันอย่างจริงจังและ ต่อเนื่องไปอีกนานครับ

หมวดหมู่เนื้อหา