NCDs | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

วงถกฯ ยก NCDs เป็นโรคติดต่อทางสังคม เทียบชั้นโควิด-19 แนะปรับพฤติกรรมกิน-อยู่-รู้ทันโรคเรื้อรัง

   สัปดาห์สมัชชาสุขภาพฯ เวที “กินอยู่ รู้ทันโรคเรื้อรัง” ปลุกประชาชนบอกลาพฤติกรรมเนือยนิ่ง ที่ปรึกษา สปสช. แนะ เดินวันละ 5,000 ก้าว สู้โรคหลอดเลือด-ความดัน-เบาหวาน-มะเร็ง-ปอดอุดกั้น ด้านรองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชี้ NCDs นับเป็นโรคติดต่อทางสังคม ส่งผ่านสู่ลูกได้โดยพ่อแม่
 

จับมือภาคีเปิดวงขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ

   พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับ NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แทบทั้งสิ้น
 
   ในแต่ละวันเราจึงสุ่มเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันประกอบด้วย เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง มะเร็งชนิดต่างๆ ไม่มากก็น้อย ตั้งแต่หมูปิ้ง-หมูกระทะไหม้เกรียม ไปจนถึงน้ำตาลในกาแฟ น้ำชง ชาไข่มุก หรือความเค็มในมื้ออาหาร ตลอดจนพฤติกรรมเนือยนิ่งบนเก้าอี้ทำงาน และหลังพวงมาลัยรถยนต์
 

‘ความรอบรู้’ ตั้งอยู่บนหลักธรรม ‘พระพุทธเจ้า’ Health Literacy อาวุธทางปัญญา – วัคซีนของสังคม

   คำว่า Literacy หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า “ความรอบรู้” หรือ “การรู้เท่าทัน” อาจจะเป็นคำที่ไม่คุ้นหูของคนไทยสักเท่าใด หากแต่คำๆ เดียวกันนี้กลับเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และเป็นสิ่งที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนกำลังผลักดันให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
 
   นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ (Health Literacy for NCDs) อธิบายว่า Literacy เป็น “วิธีการ” ที่จะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ซี่งครอบคลุมในทุกๆ ด้าน
 

เปิดสาระสำคัญ - ลัดเลาะเวทีรับฟังความคิดเห็น ‘Health Literacy’

   นอกจากจะเป็นหนึ่งในระเบียบวาระที่เข้าสู่การพิจารณาภายในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2561 แล้ว “ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” (Health Literacy) ยังนับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ นั่นเพราะเป็นทักษะสำคัญของมนุษยชาติในอนาคต
 

ชู ‘Health Literacy’ เป็นวาระแห่งชาติ ภาคีเห็นพ้องคัดกรอง ‘ข้อมูลสุขภาพ’ ลดความสับสน

   ทุกๆ นโยบายสาธารณะที่ประกาศใช้เป็นเข็มทิศขับเคลื่อนสังคม หรือใช้เพื่อรับมือกับมหันตภัยในหลากหลายรูปแบบ ย่อมเชื่อมโยงกับชีวิตคนทุกคนไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่ง การชักชวนผู้เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมออกแบบอนาคตของตัวเอง จึงจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการจัดทำนโยบาย
 

ผนึกแผนโลก-ระดมแผนชาติ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทย

   ท่ามกลางการไหลบ่าของข้อมูลเพียงชั่วพริบตาในยุคที่เข็มนาฬิกาเดินช้ากว่าสัญญาณดิจิทัล มีข้อมูลสุขภาพจำนวนมากถาโถมเข้ามาจากทุกทิศทาง ในแต่ละวันหน้าบนเฟซบุ๊กหรือแชทไลน์เกลื่อนกลาดไปด้วยข้อมูลทั้งที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และที่คลาดเคลื่อนและเป็นเท็จ ข้อมูลเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำและส่งต่อขยายวงออกไปเรื่อยๆ
 
   ที่น่ากังวลก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อนและเป็นเท็จเหล่านั้น กลับมีพลังมากพอจะสร้างความเชื่อ โน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิด และชักนำให้ใครหลายคนเผชิญหน้ากับความเสี่ยงด้านสุขภาพได้โดยไม่ยาก
 

Subscribe to NCDs