มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

รวมพลังภาคีเครือข่าย สู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

   การพัฒนา นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อน จากภาคีเครือข่ายที่หลากหลายตั้งแต่ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด ไปจนถึงระดับชาติ
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จึงจัดเวที “รวมพลังภาคีเครือข่าย สู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘” เมื่อวันอังคารที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ณ ห้องปรินซ์ ๑,๒ ชั้น ๑๑ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กทม.
 
   บรรยากาศของการประชุมครั้งนี้ คึกคักตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะมีภาคีเครือข่ายจากทุกกลุ่ม อาทิ ด้านสาธารณสุข การศึกษา ศาสนา แรงงาน เยาวชน ศิลปิน ฯลฯ มาเข้าร่วมประมาณ ๓๐๐ คน
 

‘ความมั่นคงรายได้’ โจทย์ใหญ่ สร้างสุขภาวะชาวนาไทย

   “ความมั่นคงในการประกอบอาชีพทำนา สุขภาพที่ดี และมีอำนาจต่อรอง” เป็นเป้าหมายใหญ่ของการสร้าง “สุขภาวะชาวนา” ที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรกร ภาคประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐ ร่วมมือกันขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ
 

เด็กไทยนับหมื่นจมน้ำตาย ทุกภาคส่วนเร่งผลักดันนโยบายสาธารณะ

   หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า ในจำนวนเด็กไทยที่อายุต่ำกว่า ๑๕ ปีพบการเสียชีวิตอันดับ ๑ มาจากการจมน้ำเฉลี่ยปีละ ๑,๒๓๔ คน หรือวันละ ๓-๔ คน
 
   ระหว่างปี ๒๕๔๖-๒๕๕๖ หรือในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา มียอดเสียชีวิตรวมถึง ๑๔,๗๘๙ ราย เป็นการเสียชีวิตในแหล่งน้ำธรรมชาติมากที่สุด ๔๙.๔ % และมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายๆคน
 
   ในการประชุมระดมความเห็นจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ที่ผ่านมา ทุกฝ่ายยังคงเน้นย้ำถึงสถานการณ์ และความจำเป็น ที่ต้องแสวงหาความมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้สถิติลดลงเหลือให้น้อยที่สุด
 

สร้างโรงไฟฟ้าขจัดขยะเกาะสมุย..อย่าให้คนพุนพินต้องรับผลกระทบ

     สุวรรณี บัญฑิศักดิ์ ปัญหาขยะเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งให้นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผู้ว่าฯสุราษฎร์ธานี เร่งแก้ไขให้แล้วเสร็จ เนื่องจากเกาะสมุยเป็นเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อระดับโลก แต่ทันทีที่ชาวบ้านทราบข่าวจะมีการขนขยะจากเกาะสมุยมากำจัดด้วยการแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าชีวมวลกำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ โดยจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ริมคลองท่าสะท้อน...อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นเปิดไฟเขียว ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การเดินและใช้จักรยาน 7 ปี

   เสียงสะท้อนจากภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ นักวิชาการ ภาคเอกชน และประชาสังคมในพื้นที่ต่างๆ ที่มาร่วมกันแสดงความเห็นต่อ “แผนยุทธศาสตร์การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน (พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๔)” ณ ห้องแซฟไฟร์ ศูนย์การประชุมอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการขับเคลื่อนประเด็นนี้ ที่จะมี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานหลักตาม “โรดแมป” ร่วมกับ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
 

มุ่งสกัดปัญหาเชื้อดื้อยา สินค้าเกษตร อาหาร ยารักษาโรค

   วิกฤตการณ์เชื้อดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ เป็นอีกประเด็นสำคัญ ที่มีการประชุมหารือเพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบาย เตรียมเข้าสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ ในเดือนธันวาคมนี้
 
   โดยเมื่อวันที่ ๑๗ ส.ค. ๒๕๕๘ ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ มีการประชุมคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยวิกฤตการณ์เชื้อดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ ครั้งที่ ๑ ซึ่งมี ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี เป็นประธานคณะทำงานฯ เพื่อระดมความคิดเห็นคณะทำงานฯ ที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเด็นมีความชัดเจนมากขึ้น และนำบทสรุปไปรับฟังข้อคิดเห็นในวงกว้างต่อไป

Subscribe to มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ