การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

วงวิชาการดัน ‘HIA’ สร้างสุขภาวะอีสาน แก้ปัญหาผลกระทบ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’

   นักวิชาการเผยสถานการณ์ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’ พบภาคอีสาน 15 จังหวัด มีโรงไฟฟ้าจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว 71 บริษัท หวั่นชาวบ้านอ่วมสารเคมี เหตุแผนพลังงานทดแทนฯ เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีกกว่า 6 ล้านไร่ ด้าน สช.ผนึกภาคีจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” จากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
 

สานพลัง จัดทัพทีมเลขานุการ HIA Commission

หลังจากมีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เมื่อ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ในคณะกรรมการชุดนี้มีการออกแบบให้มีเลขานุการร่วม ในรูปของ “เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ” ทางกลุ่มงาน กลุ่มงานพัฒนาและขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).

สช. ดันแผนยุทธศาสตร์ พัฒนา HIA ทั้งระบบ รองรับสถานการณ์สุขภาพในอนาคต

   สช. ลงนาม MOU ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ พร้อมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) นัดแรก หวังพัฒนา HIA รองรับสถานการณ์สุขภาพในอนาคต ผลักดันงานวิชาการ บูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน
 

“โรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน” กับพลังชุมชน

   การประท้วง การร้องเรียน กระทั่งการอภิปรายในรัฐสภาเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้อีสานเป็นไบโอฮับหรือศูนย์กลางฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และตั้งแต่ปี 2558 ก็มียุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย 10 ปี 2558-2569 โดยตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ปลูกอีก 6 ล้านไร่ภายในปี 2569 เพิ่มการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลในภาคอีสานจาก 20 เป็น 30 แห่ง พ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 29 แห่ง
 

หลักสูตร HIA online ภายใต้สถานการณ์ Covid-19

ปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ไม่ได้จำกัดวงผลกระทบต่อระบบสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งกระทบกับระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคมจากมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อไม่ให้การระบาดของโรครวดเร็วเกินไป โดยเฉพาะมาตรการ การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing ที่ไม่ให้ผู้คนรวมกลุ่มกันจำนวนมาก ลดการระบาดของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลกระทบถึงกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดอบรม สัมมนา ที่ต้องยกเลิก หรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพว่าด้วยการดำรงชีวิต ในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพอย่างสร้างสรรค์

   “การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ” หรือ Health Impact Assessment (HIA) นับเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายได้ให้การรับรองสิทธิประชาชนที่จะดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสามารถร้องขอและมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะได้
 
   อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และศัพท์แสงทางวิชาการ อาจทำให้ผู้คนจำนวนมากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือนำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย
 

Subscribe to การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA)