สมัชชาสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

‘นิยามศัพท์การดูแลแบบประคับประคอง’ หวังแก้ปัญหาติดขัดระเบียบราชการ-ประชาชนเข้าถึงสิทธิมากขึ้น

   สช. จัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ระดมความเห็นทุกภาคส่วนร่วมร่างนิยามปฏิบัติการ ‘การดูแลแบบประคับประคอง’ เพื่อความชัดเจนในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ชี้เป็นเรื่องทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคม จึงต้องมีกรอบในการดำเนินการของทุกฝ่าย
 

เดินหน้า 'ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ' แก้วิกฤตสุขภาพพระสงฆ์ไทย

   วิกฤตสุขภาพพระสงฆ์ไทยนับแสนรายป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เหตุพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย อาหารไม่ถูกโภชนาการ องค์กรสุขภาพ เร่งเดินหน้าธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ผนึกกำลังหยุดเจ็บป่วย พลิกบทบาทเป็นผู้นำสังคม สสส. จัดหลักสูตรพระพระคิลานุปัฏฐาก พระสงฆ์ต้นแบบการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ พัฒนาพระสงฆ์ผู้นำสุขภาพ-เฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงในวัด
 

เจ้าคณะภาค 11 เคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์

   คณะสงฆ์ภาค 11 จัดเวทีใหญ่ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ตั้งเป้า ‘พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข’ ด้านกระทรวงสาธารณสุขพร้อมหนุนเต็มที่ผ่านกลไกทุกระดับ ขณะที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมขับเคลื่อนฯ คาดบรรลุผลใน 10 ปีโดย “ใช้ทางธรรม นำทางโลก” ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ
 

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ชื่นชม ‘ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์’

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กราบถวายมุทิตาจิตสักการะสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร) ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ฝ่ายบรรพชิต ที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฎ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ย้ำ ‘ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์’ ขับเคลื่อนด้วยดี ช่วย “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทั้งต่อพระและชาวบ้านในพื้นที่
 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปีนี้ ‘เพศภาวะ-สุขภาพจิตครอบครัว’

   คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ ประกาศระเบียบวาระที่ 2 ‘วิถีเพศภาวะ: เสริมพลังสุขภาพจิตครอบครัว’ เตรียมผลักดันเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ช่วงปลายปี 2562 เหตุพบสถิติผู้ป่วยจิตเวชและอัตราฆ่าตัวตายขยายตัวรวดเร็ว แม้ในต่างจังหวัด บุคลาการด้านจิตเวชไม่เพียงพอ การไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศภาวะทำครอบครัวไทยตึงเครียด หลังประกาศระเบียบวาระแรก ‘มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’ ไปก่อนหน้านี้
 

การออมเตรียมรับสังคมสูงวัย ขยายผล ‘ธนาคารต้นไม้’

   ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีคนแก่ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ!!
เป็นการคาดการณ์ที่ทำให้หน่วยงานต่างๆ เริ่มพูดถึง ‘สังคมสูงวัย’ กันมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปของไทยกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

 
   แม้การตระหนักรู้เรื่องนี้จะเพิ่มขึ้น แต่ดูเหมือนว่าเรายังคงมืดมนต่อทางออกว่าเราจะรับมืออย่างไร ?

Subscribe to สมัชชาสุขภาพ