เกาะติด 4PW | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

เมื่อ “รัฐ – อปท.” หนุนเสริม ‘ชุมชน’ ชี้ขาดความสะอาดในพื้นที่

   “ขยะมูลฝอย” สร้างผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและอ้อมกลับมาทำลายสุขภาพ อีกทั้งปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนดูเหมือนว่าไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด ทั้งประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของภาครัฐที่ไม่สามารถรองรับปริมาณของขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับพฤติกรรมการทิ้งและไม่คัดแยกขยะที่เอื้ออำนวยต่อระบบการจัดการ ทำให้ประเทศไทยมีขยะตกค้างรอกำจัดอีกไม่น้อยกว่า 10 ล้านตัน
 
   เพราะทุกคนเป็นแหล่งต้นกำเนิด “ขยะมูลฝอย” จึงเป็นปัญหาของคนทุกคน ที่ต้องร่วมมือกัน ในการจัดการอย่างเข้มข้น จริงจัง
 

จ่อปรับชื่อระเบียบวาระ ‘วิถีเพศภาวะ’ ใหม่

   แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะให้ความสำคัญในเรื่องความเสมอภาคชาย-หญิง แต่การดำเนินงานและการจัดทำนโยบายต่างๆ กลับยัง “ขาดการบูรณาการมุมมองด้านเพศภาวะ” ซึ่งนับเป็นรากเหง้าปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพที่อาจนำไปสู่ปัญหาในการจัดระบบบริการสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดี
 
   แน่นอนว่าทางออกเชิงนโยบาย หมุดหมายหลักคือการผลักดันให้เกิดการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสร้างเสริมสุขภาพสู่สังคมสุขภาวะผ่านมุมมองมิติเพศภาวะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนใน 3 ระบบหลัก คือ โครงสร้างสังคม ระบบการศึกษา และระบบบริการสุขภาพ
 

ขับเคลื่อน ‘ยุทธศาสตร์สุขภาวะชุมชน’ เกิดกลไกเพียบ

   เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ‘ชุมชนท้องถิ่น’ มีความสำคัญในฐานะรากฐานของสังคม และรากฐานที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะสามารถรองรับโครงสร้างที่สูงใหญ่ได้
 
   อย่างไรก็ดี การมุ่งเน้นที่จะให้ความสำคัญเฉพาะแต่กับส่วนบน และบริหารจัดการแบบ “บนลงล่าง” ย่อมไม่เป็นผลดีกับประเทศในระยะยาว เพราะนอกจากจะเป็นการ “ตัดเสื้อโหล” ให้ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีความแตกต่างและหลากหลายใส่แล้ว ยังเป็นการบริหารที่ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วม
 

ขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพเขตเมือง

   ภาพที่ทุกคนอาจจะรู้สึกเหมือนๆ กัน ก็คือ พื้นที่เขตเมืองน่าจะมีความเจริญและความพรั่งพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะมิติทางสุขภาพแล้ว น่าจะมีความสมบูรณ์ไม่ตกหล่น
 
   อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในเรื่อง “ระบบบริการสุขภาพ” กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากวิเคราะห์สถานการณ์ระบบบริการสุขภาพเขตเมืองแล้วจะพบว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรมีจำกัด ระบบให้บริการไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปรากฏข้อจำกัดด้านคุณภาพ การเข้าถึง และความเป็นธรรม
 

‘คำนิยาม’ ดูแลแบบประคับประคองฉบับทางการของไทย

   ว่ากันตามคำจำกัดความของ องค์การอนามัยโลก (WHO) การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หายด้วยการป้องกัน บรรเทาอาการ ตลอดจนบรรเทาความทุกข์ทรมานด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น นับเป็นการดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ อันได้ แก่ กาย ใจ ปัญญา และสังคมของผู้ป่วย
 
   ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีการพูดถึงการดูแลรักษาแบบประคับประคองมากขึ้น แต่กลับพบปัญหาเรื่องการตีความที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการที่ล้วนแต่ตีความไปตามบริบทและอำนาจหน้าที่ของตัวเอง
 

สช.ยกเครื่องการสื่อสาร ‘สิทธิตายดี’ จัดทำ ‘Sit-com’

   “สิทธิการตายตามธรรมชาติ” ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 รับรองสิทธิให้ทุกคนสามารถทำ “หนังสือแสดงเจตนา” ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตได้
 
   นั่นสะท้อนถึงความก้าวหน้าของประเทศไทย สะท้อนถึงการให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลและความเป็นมนุษย์
 
   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะกลไกหลักภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนเรื่อง “สิทธิการตายตามธรรมชาติ” อย่างจริงจัง และยังร่วมกันสื่อสารกับสังคมอย่างเข้มข้น
 

Subscribe to เกาะติด 4PW