ITH | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

นานาชาติร่วมถกอาเซียนรับมือการค้าเสรี

   เมื่อวันที่ 19 - 20 พ.ย.2562 ที่โรงแรมเมอเวนพิคฯ มีการจัดประชุมวิชาการการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ (ITH) ประจำปี 2562 หัวข้อ “การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพของอาเซียน: แสวงจุดร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” จัดโดยคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจ.คส. หรือ NCITHS) และเครือข่าย
 

การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพของอาเซียน แสวงจุดร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

   นพ.แดเนียล เคอร์ทีซ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมด้วย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา สมาชิกวุฒิสภา ร่วมกันเปิดการประชุมวิชาการการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ปี 2562 “การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพของอาเซียน: แสวงจุดร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจเรื่องการค้าระหว่างประเทศและผลกระทบด้านสุขภาพและระบบสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน สร้างเครือข่ายในการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแ

การค้า-สุขภาพในอาเซียนจะไปด้วยกันได้อย่างไร ? หาคำตอบในการประชุม ITH

   ท่ามกลางสงครามการค้าระหว่างสองยักษ์ใหญ่จีน-สหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจโลกขาลง การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ การเปิดเสรีการค้าการลงทุนถูกผลักดันอย่างหนักด้วยความหวังว่าจะเป็นตัวช่วยพยุงเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างการประชุม ASEAN SUMMIT ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อ 2-4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ที่ขยับรุดหน้ารวดเร็ว หลังจากค้างคาอยู่นาน 7 ปี
 

ได้เวลาเหรียญสองด้าน ผสานเป็นหนึ่ง สร้างนโยบายการค้าที่คำนึงถึง ‘ระบบสุขภาพ’

   โจทย์ท้าทายของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ มิได้มีเพียงแค่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงทำอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบกับ ระบบสุขภาพ ในอนาคต เริ่มจากการเพิ่มศักยภาพบุคคลและองค์กรให้เข้มแข็ง เพื่อผนึกกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปกป้องสุขภาวะคนไทย
 

NCITHS ผนึกทุกเครือข่ายกำหนดนโยบายการค้าเสรี ปกป้องระบบสุขภาพคนไทย

   เวทีประชุมวิชาการการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพปี ๒๕๖๐ ประเมินนโยบายและสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศมีประเด็นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น และมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน เสนอทุกภาคส่วนทำงานร่วมกัน ด้วยความไว้วางใจและเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เพื่อการเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
 

Subscribe to ITH