เกาะข่าว สช. | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

ภาคีทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ

   ภาคีทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสเร่งรัดการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ทั้งการส่งเสริมให้พระสงฆ์มีเลข 13 หลักเพื่อเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพผ่านกลไกการปกครองคณะสงฆ์ จับคู่ 1 วัด 1 รพ./รพ.สต. การอบรมพระคิลานุปัฏฐาก การตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์และชุมชน การร่วมพัฒนาให้เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและร่วมในโครงการ บ-ว-ร ส่วนรายการ ‘สงฆ์ไทย ไกลโรค’ พร้อมเผยแพร่ผ่าน WBTV ณ วันที่ 28 กรกฎาคมนี้
 

18 หน่วยงาน เตรียมการรับมือเศรษฐกิจสังคมสูงวัยให้โตอย่างมีคุณภาพ

   ที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทพอ.) 18 หน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือเศรษฐกิจสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีคุณภาพ เพื่อเตรียมการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้า
 

ตามหา ‘สุขภาพทางปัญญา’ ผ่านการสนทนา 9 ฐาน

   หากพูดถึง ‘สุขภาพกายและจิต’ คงเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วไปเข้าใจได้ไม่ยาก
 
   พอเป็นเรื่อง ‘สุขภาพสังคม’ แม้เป็นภาพที่ใหญ่ขึ้น แต่เราก็ยังพอจับต้องได้ว่าหมายถึงอะไร มันสำคัญอย่างไรต่อสุขภาพของเรา
 
   แต่สำหรับ ‘สุขภาพทางปัญญา’ หลายคนส่ายหน้า ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรกันแน่
 
   กระนั้นก็ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้ให้ความหมายต่อสุขภาพที่กินความทั้งกาย จิต สังคม และรวมไปถึงปัญญา อย่างเป็นองค์รวมและสมดุล
 

คจ.สช.ดันระเบียบวาระแรก ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ไฟเขียว “ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง...สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ” เป็นธีมงานปี 2562 พร้อมเห็นชอบให้ประกาศทบทวนมติฯ สังคมไทยไร้แร่ใยหินเป็นระเบียบวาระแรกของการประชุมในปีนี้ หวังเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมสนับสนุนการใช้สารทดแทนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ สู่การบริหารจัดการเพื่อควบคุม ลด และ เลิกการใช้แร่ใยหิน
 

แจงเหตุเข้าใจผิดไม่บรรจุแพทย์ ปี 64 ‘แค่ สธ. เสนอแผนระยะแรก’ หมอมงคล ยันต้องบรรจุอีก 10 ปีจึงสมดุล

   จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าภายหลังปี 2564 จะไม่มีตำแหน่งข้าราชการให้แก่แพทย์จบใหม่ ซึ่งเป็นไปตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย (ดำเนินการเฉพาะระยะที่ 1 ปีพ.ศ.2560-2564) จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางนั้น
 

‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ในสังคม

   เวที ‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ชี้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกำลังสร้างวิกฤตต่อความหมายทั้งกับชีวิตและความตาย นักวิชาการย้ำความหมายของความตายเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและสัมพันธ์กับคำถามว่า ‘ชีวิตที่ดีคืออะไร?’
 
   วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัด เสวนา REST IN PEACE 4 : วิกฤตความหมายในความตาย จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ
 

Subscribe to เกาะข่าว สช.