Grid posts | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

วางกรอบประเด็น สุขภาพในเมืองใหญ่ พร้อมเปิดเวทีรับฟัง 27 ต.ค. นี้

   คณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองอย่างมีส่วนร่วม ที่มีนพ.ชวินทร์ ศิรินาค เป็นประธาน ได้มีการหารืออย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ ๔ โดยที่ประชุมมีการปรับปรุงเอกสารหลัก รวมถึงร่างมติให้มีความกระชับ และสอดคล้องกัน พร้อมระบุเวลาของการขับเคลื่อนแต่ละมติให้ชัดเจนมากขึ้น
 

สร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับ จากพื้นที่สู่ยุทธศาสตร์ชาติ จุดหมายที่ต้องไปให้ถึง

   ประกาศกันไปแล้ว สำหรับระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณา ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมนี้ รวมทั้งสิ้น ๔ ประเด็น
 
   โดยแต่ละประเด็นล้วนแต่มีความสำคัญ ต่อทุกภาคส่วนในสังคม ได้แก่ ๑. วิกฤตการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ ๒. สุขภาวะชาวนา ๓. การพัฒนาระบบสุขภาพแขตเมืองอย่างมีส่วนร่วม : ระบบบริการสุขภาพ และ ๔. นโยบายการลดบริโภคเกลือ
 

ประกาศ รับสมัครงาน 15/10/58

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)เป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคลในกำกับของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นองค์กรเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดทุกข์-สร้างสุขให้คนในสังคมไทยตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550มีความประสงค์จะรับสมัครเพื่อนร่วมงานเพื่อร่วมอุดมการณ์“สานพลัง สร้างสุขภาวะ”ดูรายละเอียดตำแหน่งที่เปิดรับ คุณสมบัติในแต่ละตำแหน่ง ตามรายละเอียดตามตารางแนบท้ายนี้

ยกระดับการมีส่วนร่วม 6 กลุ่มเครือข่าย นำร่องสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

   การประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดกลุ่มเครือข่ายและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ครั้งที่ ๕/๕๘ ที่มี ดร.ไชยยศ บุญญากิจ เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ มีการสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อความสำเร็จ ของการจัดประชุม รวมพลังเครือข่ายฯ เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา และได้ทบทวนการจัด “กลุ่มเครือข่าย” เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอีกด้วย
 

ให้เลี้ยงเป็ดและสุกร!

   เป็นความเข้าใจกันมานานแล้วว่า นโยบายสาธารณะหมายถึงทิศทาง แนวทาง ข้อกำหนด และการกระทำของรัฐบาล ราชการ หน่วยงาน และผู้มีอำนาจ ว่าจะทำอะไรให้กับประชาชนและสังคม มีทั้งที่เขียนไว้ในแผน ในคำแถลงต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ
 
   เมื่อปี ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีจึงต้องเรียกประชุมชาวบ้าน ประกาศว่า “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร”
 
   นั่นเป็นนโยบายสาธารณะแนวดิ่ง เป็นนโยบายสาธารณะรูปแบบหนึ่งที่มองประชาชนเป็นเพียงผู้รับนโยบายและรับผลจากนโยบาย เป็นแนวคิดเก่าของการอภิบาลโดยรัฐ (governace by government)
 

ธรรมนูญสุขภาพคลองอาราง หมู่บ้าน 4 ดี วิถีพอเพียง

     “ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ไม่มีใครแก้ได้ ถ้าไม่ใช่คนในชุมชนเอง” บ้านคลองอาราง อ.เมือง จ.สระแก้ว เป็นหนึ่งในชุมชนที่เคยประสบปัญหาสารพัด ทั้งสุขภาพ การพนัน ยาเสพติด เหล้า บุหรี่ และผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ยิ่งนานวัน ยิ่งสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและวิถีชุมชนดั้งเดิม ทำให้ พัฒนา พรมเผ่า ผู้ใหญ่บ้านคลองอาราง ได้นำแนวทาง “ธรรมนูญสุขภาพ” เข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา จุดเด่นสำคัญที่นำธรรมนูญสุขภาพมาใช้ คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ได้คิด ตัดสินใจ กำหนด “ข้อตกลงร่วม” แก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน...