9 สภาองค์กรชุมชน อ.คูเมือง เปิดวงนำร่องจัดทำธรรมนูญชุมชนสุจริต จ.บุรีรัมย์ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

1

 

10 พ.ค.2567 ณ ที่ว่าการอำเภอคูเมือง จ.บุรีรัมย์ สช.ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสภาองค์กรชุมชน ร่วมประชุมหารือแนวทางการจัดทำธรรมนูญชุมชนสุจริต โดยมี นายจีระศักดิ์ ศิลป์ประกอบ ปลัดอำเภอ กล่าวเปิดงานต้อนรับ

นายวุฒิพงษ์ เหลืองอุดมชัย ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของารขับเคลื่อนการป้องกันและต่อต้านการทุจริตโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและองค์กรชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งเป้าให้อำเภอคูเมือง เป็นอำเภอสีขาวปลอดการทุจริต และเป็นพื้นที่นำร่องในการจัดทำธรรมนูญสุจริตในระดับอำเภอ จาก 23 อำเภอของบุรีรัมย์

 

2

 

มีผู้แทนจากสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่อำเภอคูเมือง ทั้งสิ้น 7 ตำบล รวม 9 สภาองค์กรชุมชน ได้แก่ ตำบลคูเมือง,เทศบาลตำบลคูเมือง,ต.หินเหล็กไฟ,เทศบาลตำบลหินเหล็กไฟ,ต.บ้านแพ,ต.พรสำราญ,ต.ตูมใหญ่,ต.หนองขมาร และตำบลปะเคียบ พร้อมด้วย ผศ.ดร.นพดล ธีระวงศ์ภิญโญ และอาจารย์สากล พรหมสถิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมจุดประกายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นชุมชนเข้มแข็ง การสร้างภูมิต่อต้านการทุจริตและการสร้างจิตสำนึกของชุมชนพลเมือง จากเครือข่ายภาคประชาชนเป็นแกนหลัก

นส.สุวิมล มีแสง ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พอช. กล่าวถึงแนวทางโครงการป้องกันและต่อต้านการทุจริต ที่ขับเคลื่อนภายใต้สภาองค์กรชุมชนและแผนบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยส่งเสริมให้ภาคประชาชน องค์กรชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินงาน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน ทำให้ภาคประชาชนเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เพื่อสร้างสังคมสุจริตและต่อต้านทุจริตเป็นภารกิจของภาคประชาชน จากต้นทุน“ธรรมนูญ 9 ดี” ซึ่งจะทำให้เกิดโมเดลต้นแบบธรรมนูญสุจริตที่มีความสอดคล้องกับพื้นที่และนำมาปฏิบัติได้จริง

3

 

นส.ชญาดา เธียรวิบูล ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวชี้แจงและทำความเข้าใจต่อกระบวนการขั้นตอนการจัดทำธรรมนูญชุมชนสุจริต ซึ่งเครื่องมือ “ธรรมนูญสุข” หรือ “ข้อตกลงชุมชน เปรียบเป็น“ภาพพึงประสงค์ร่วม” ในการพัฒนา/แก้ไขปัญหาสำคัญในระดับพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ วันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการที่ 1 คือการเตรียมความพร้อม ทำความเข้าใจ, การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ และการจัดตั้งกลไกการทำงาน ที่จะกลับไปดำเนินการต่อเนื่องร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดทำข้อตกลงในระดับตำบล/ชุมชน เป็นกรอบทิศทางการป้องกันปราบปรามการทุจริตในชุมชน

นัดหมายครั้งต่อไป กรกฎาคม 2567 ในกระบวนการยกร่างข้อตกลง/ ธรรมนูญสร้างวัฒนธรรมสุจริต โดยการใช้หลักการธรรมาภิบาล ร่วมกับการพิจารณาการการขับเคลื่อนบ้านพอเพียง บ้านมั่นคงของสภาองค์กรชุมชนร่วมด้วย

4

 

รูปภาพ