ประกาศใช้ "ธรรมนูญ" มีนบุรี เป็นทิศทางการมีส่วนร่วมของประชาชน | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สช. ร่วมกับ องค์กรภาคียุทธศาสตร์ จัดเวทีสมัชชาสุขภาพและประกาศใช้ธรรมนูญ “เขตมีนบุรี” สานพลังสร้างสุขภาวะแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 - 13.00 น. ณ ห้องประชุมโถงใหญ่ ชั้น 1 ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง เขตมีบุรี สช. โดยศูนย์ขับเคลื่อนสุขภาวะเขตเมือง (ศสม.) และองค์กรภาคี จัดเวทีสมัชขาสุขภาพ เขตมีนบุรี โดยในกิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วม 150 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และผู้แทนชุมชนเขตมีนบุรี เพื่อพิจารณาและประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพเขตมีนบุรี
 

มีนบุรี


พิธีเปิดเวทีสมัชชาสุขภาพ เขตมีนบุรี การกล่าวรายงานโดย นางโชติรส จันทร์สมบัติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี และกล่าวเปิดงาน โดยนายศักดิ์ชัย ใสสุข ผู้อำนวยการเขตมีนบุรี ซึ่งได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ความเป็นมา และความสำคัญของธรรมนูญสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในเขต ที่จะนำไปเป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหา และช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหลักสี่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
 

วิชาญ มีนชัยนันท์


กิจกรรมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวปาถกฐาพิเศษ ในหัวข้อ พัฒนาระบบสุขภาพในทุกมิติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน “มีนบุรี Healthy City” โดยได้กล่าวถึง การสนับสนุนและขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ที่ผ่านธรรมนูญสุขภาพ ซึ่งเป็นทิศทางและเป้าหมายของประเทศ ตลอดจน “การเป็นเมืองที่ยั่งยืน” จะต้องมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ส่งเสริมแนวทางบูรณาการที่ให้คุณค่า ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง

รวมทั้ง การปาถกฐาพิเศษ ในหัวข้อ “ทิศทางและโอกาสการพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาวะเขตเมือง” โดย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวถึง สาระสำคัญของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และหลักการธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 รวมถึงการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคียุทธศาสตร์และคนในชุมชน เพื่อเสริมสร้างการมีสุภาวะที่ดี “โดยชุมชน เพื่อชุมชน”
 

สุเทพ เพชรมาก


ต่อมา เป็นกระบวนการพิจารณา (ร่าง) ธรรมนูญสุขภาพ เขตมีนบุรี ดำเนินการโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งเป็นศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง ที่ได้ร่วมพัฒนา (ร่าง) ธรรมนูญฯ ขึ้นมา ซึ่งได้นำเสนอสาระสำคัญและพิจารณา (ร่าง) ธรรมนูญสุขภาพ เขตมีนบุรี ร่วมกับผูัแทนชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เพื่อให้มีความสมบูรณ์ และประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ เขตมีนบุรี อย่างเป็นทางการ
 

สุเทพ เพชรมาก


รวมทั้งเพื่อให้เห็นแนวทางในการขับเคลื่อนธรรมนูญฯ ร่วมกัน ขององค์กรภาคียุทธศาตร์และชุมชนในพื้นที่เขตมีนบุรี จึงได้จัดเวทีบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “บทบาทขององค์กรภาคียุทธศาสตร์ที่มีต่อการขับเคลื่อนธรรมนูญภาพระดับเขต” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
 

อภิชาติ รอดสม


นายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวถึง บทบาทของ สช. ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระดับเขต โดยการมีส่วนของชุมชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญและหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธรรมนูญฯ ร่วมกัน เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกช่วงวัย
 

ธีรวีร์ วีรวรรณ


นายแพทย์ธีรวีร์ วีรวรรณ ผู้แทนสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึง การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับเขต และบทบาทภารกิจของสำนักอนามัยในการสนับสนุนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระดับเขต โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพเป็นกรอบ ทิศทาง ในการเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร

นางสาวสุมล ยางสูง ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึง ภารกิจของ พอช. ในการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง และพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ตลอดจนการประสานความร่วมมือพหุภาคีและเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชน ซึ่งการสนับสนุนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระดับเขต เป็นการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่เขต เพื่อให้สภาองค์กรชุมชนเป็นแกนนำหลักในดารร่วมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพไปสู่การปฏิบัติ
 

เตชิต ชาวบางพรหม


ทั้งนี้ นายเตชิต ชาวบางพรหม หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนสุขภาวะเขตเมือง ได้กล่าวสรุป "ทิศทางและโอกาสการพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาวะเขตเมือง" เพื่อนำธรรมนูญสุขภาพเขตมีนบุรีไปขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม สู่การมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนเขตมีนบุรี และปิดการประชุม
 

เตชิต ชาวบางพรหม


 

ธรรมนูญสุขภาพ



ทีม ศสม. รายงาน

 

รูปภาพ