การจัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการงานปฐมภูมิกับธรรมนูญสุขภาพไปสู่ธรรมนูญโควิด-19 ระดับเขต 10 | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Audio file
การจัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการงานปฐมภูมิกับธรรมนูญสุขภาพไปสู่ธรรมนูญโควิด-19 ระดับเขต 10


ในวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักเขตสุขภาพที่ 10 การจัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการงานปฐมภูมิกับธรรมนูญสุขภาพไปสู่ธรรมนูญโควิด-19 ระดับเขต 10
 

ธรรมนูญโควิด-19 ระดับเขต 10


โดยมี นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจเขต 10  เชิญนายแพทย์/รองนายแพทย์สาธารณสุข ทั้ง 5 จังหวัดเข้าร่วมประชุมหารือกับ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กขป.เขต 10 , นางมลุลี แสนใจ  รองผอ.สปสช.เขต 10  แกนสมัชชาจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด วิยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุขจังหวัดอุบลฯ  และเภสัชกร 
เพื่อหารือเตรียมการรับมือสถานการณ์โควิด 19 ในเขต 10 ทั้ง 5 จังหวัด อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญและมุกดาหาร โดยใช้การบูรณาการเชื่อมโยงชุมชนท้องถิ่น (ระบบบริการปฐมภูมิ + สมัชชาสุขภาพ (กขป) + พชอ + องค์กรปกครองท้องถิ่น + กองทุน (กปท) สปสช และภาคประชาสังคม.) เพื่อสู้ภัยโควิด 19 
 

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน


นพ.ทวีศิลป์ มีข้อเสนอการทำงานร่วมเน้นไปที่ภาคประชาสังคมทำงานร่วมฝ่ายปกครอง ฝ่ายท้องถิ่นใน 5 เรื่อง 
1. การสื่อสารปัญหาวิกฤติ ให้มีการกระจายที่ทั่วถึง ในทุกระดับ มบ. ตำบล อำเภอ จังหวัดและเขต 
2. การฉีดวัคซีนเชิงลุก ให้กับหน่วยงานแพทย์ ผู้สุงอายุ กลุ่งเสียงและประชาชนทุกคน
3. เรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาขยะติดเชื้อ การป้องกันและการแก้ไข 
4. การดูแลผู้ป่วย 3 ระดับ (เน้นสีเขียว/เหลือง) ลดหน้างานเจ้าหน้าที่รพ. การสร้างทีมพื้นที่ช่วยดูแลผู้ป่วย การทำงานร่วม อสม.
5. การบูรราการทำงาน CCR
 

นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ


นพ.นิรันดร์ เสนอ การทำงานแบบมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นใจให้ชุมชน โดยใช้กลไกบูรณาการ กขป.10  สมัชชาจังหวัด สปสช.เขต 10 พชอ. อปท. โดยใช้ธรรมนูญพื้นที่เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน โดยมี 4 เป้าหมายดังนี้ 
1. สร้างระบบดูแลประชาชน ระดับบุคคล/ชุมชน เชื่อมโยงกับระบบปฐมภูมิ
2. เตรียมความพร้อมด้านอาสาสมัครในชุมชนท้องถิ่น
3. จัดระบบการดูแลประชาชน ระหว่างรอการรักษาและ การฟื้นฟูหลังกลับจากโรงพยาบาล และการกักตัวเองสังเกตอาการ
4. เกิดระบบสนับสนุนการช่วยเหลือด้านต่างๆในชุมชน
 

นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

 

การขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการ


จากการพูดคุยทำให้ได้ข้อสรุป ดังนี้
• ใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานใน 5 จังหวัด เพื่อช่วยควบคุมปัญหาในพื้นที่ 
• แกนสมัชชาจังหวัดเป็นกลไกเชื่อมร้อยภาคีในทุกภาคส่วนและหารือ สสจ. เพื่อชี้พื้นที่เป้าหมายของแต่ละจังหวัดในการร่วมกันดำเนินการ 
• ผลักดันให้ท้องถิ่นใช้งบจัดการโควิด จาก กองทุน (กปท.) โดย สปสช.สร้างความเข้าใจให้ท้องถิ่นมั่นใจสามารถใช้งบ กขป.ดำเนินการได้  ( อาทิ ค่าอาหารกักตัว , ค่าเอ๊กซเรย์ , ค่าพาหนะนำคนในชุมชนไปฉีดวัคซีน) 
• การทำงานร่วมศูนย์สุขภาพจิต/กรมสุขภาพจิต เขต 10 

โดยใช้กลไกทำงาน

กลไกทำงาน เขต 10


กระบวนการทำงาน

กระบวนการทำงาน เขต 10


• นัดประชุมกลุ่มย่อย
- ทีมสมัชชาจังหวัดเพื่อประสานการทำงาน เขียนแผนงาน กิจกรรม  วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564
- ทีมสมัชชาจังหวัดประสาน สสจ.ชี้เป้าพื้นที่ เพื่อส่งมุลนิธิประชาสังคม วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564
• นัดหมายติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564
 

งานปฐมภูมิกับธรรมนูญสุขภาพไปสู่ธรรมนูญโควิด-19

 

งานปฐมภูมิกับธรรมนูญสุขภาพไปสู่ธรรมนูญโควิด-19 ระดับเขต 10

 

รูปภาพ
การขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการงานปฐมภูมิกับธรรมนูญสุขภาพไปสู่ธรรมนูญโควิด-19 ระดับเขต 10