รู้จักและเข้าใจ : สมัชชาสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Audio file

 

“สมัชชาสุขภาพ” คือ เครื่องมือพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม เกิดขึ้น ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ถือเป็นแนวทางใหม่ของการพัฒนา นโยบายสาธารณะตามระบอบประชาธิปไตยแบบ มีส่วนร่วม สมัชชาสุขภาพแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๒) สมัชชาสุขภาพ เฉพาะพื้นที่ และ ๓) สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น โดย พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติได้กำหนดให้มีการจัด สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และให้สนับสนุน การจัดสมัชชาสุขภาพ เฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ตาม หลักเกณฑ์ที่ คสช. กำหนดทั้งนี้ประชาชนอาจรวม ตัวกันจัดสมัชชาสุขภาพกันเองก็ได้ หลักการและคุณค่าที่สำคัญพื้นฐาน ของ สมัชชาสุขภาพ ๔ ประการ คือ 

หนึ่ง เป็นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (Participatory Healthy Public Policy Process) 
สอง เป็นกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมี ส่วนร่วม (Participatory Democracy Development) 
สาม เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม (Social Empowerment) โดยอาศัยพลัง ๓ ภาค ส่วนที่เชื่อมโยงกัน คือ พลังทางปัญญา พลังทางสังคม และพลังรัฐ/การเมือง 
สี่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ (Interactive Learning Through Action) 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกใน ปี พ.ศ.๒๕๕๑ และจัดเป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึง ครั้งที่ ๑๖ ในปี พ.ศ.๒๕๖๖ ปัจจุบันได้ข้อเสนอเชิงนโยบายจากสมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ รวม ๙๖ มติ และมีการผลักดันไปสู่การปฏิบัติ ทั้งในระดับชาติ ระดับกระทรวง กรม ระดับจังหวัด และระดับชุมชนท้องถิ่น ขณะเดียวกันได้มีการ พัฒนากระบวนการให้มีความเป็นระบบและสร้างการมีส่วนร่วมมากขึ้นเป็นลำดับ 

สำหรับการสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพ เฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น คสช. ได้จัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุน ซึ่งที่ผ่านมา ได้สนับสนุนองค์กรเครือข่ายภาคีต่างๆ ให้มีการ จัดสมัชชาสุขภาพในระดับพื้นที่และประเด็นต่างๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องมาทุกปี และมีหลายพื้นที่ ที่จัดกันเองด้วยงบประมาณในพื้นที่ และมีหลาย องค์กรที่สนใจนำกระบวนการสมัชชาสุขภาพไป ประยุกต์ใช้ในมิติต่างๆ 
 

มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 1-16


 

หมวดหมู่เนื้อหา