วิถีเพศภาวะ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

เปิดวงขับเคลื่อนมติฯ ‘วิถีเพศภาวะ’

   เริ่มนัดแรก! ภาคีเครือข่ายตบเท้าเข้าร่วมหารือขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ ‘วิถีเพศภาวะ’ เปิดพื้นที่กลางแลกเปลี่ยน พร้อมทำความเข้าใจรายละเอียดร่วมกัน
 
   เพียงแค่สองเดือนเศษ นับจากที่สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีฉันทมติร่วมกันในระเบียบวาระ “วิถีเพศภาวะ : เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว” ภายในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 เมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จนถึงวันนี้
 

ตอนที่ 3 ความละเอียดอ่อนทาง ‘เพศ’ คือต้นทางสร้าง ‘สุขภาวะครอบครัว’

   อีกเพียง 2 เดือน งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ก็จะเปิดฉากขึ้น โดยปีนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ได้ประกาศระเบีบบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาจัดทำเป็นนโยบายสาธารณะใน 4 เรื่องใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ “วิถีเพศภาวะ : เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว” ที่นับเป็นรากฐานของการสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และมีความสำคัญเชิงประเด็นในระดับนานาชาติ
 

ตอนที่ 2 ‘วิถีเพศภาวะ: เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว’

   แม้ว่าประเทศไทยจะรับ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ที่ยืนยันหลักการว่าการเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และถึงแม้ว่าที่ผ่านมารัฐไทยจะส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศ และพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก “เพศภาวะ”
 
   ย้อนกลับไปราว 17-18 ปีก่อน คือในปี 2544 ทุกกระทรวงในประเทศไทย (ยกเว้นกระทรวงกลาโหม) ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point : GFP) ขึ้น ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจให้ข้าราชการ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในประเด็นเพศภาวะ
 

ตอนที่ 1 ทุกเพศมีความแตกต่าง : ถ้าเข้าใจกันก็มีสุข

   สำหรับบรรดาเหล่าพ่อบ้าน-คุณสามีทั้งหลาย ลองได้มีโอกาสได้รวมรุ่นตั้งกลุ่มสังสรรค์กับพวกพ้องแบบปล่อยแก่ เดาได้เลยว่าบทสนทนาที่นำมาซึ่งความคึกคะนองหนีไม่พ้นเรื่องการ “นินทาภรรยา”
 
   เรื่องที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุย หรือล้อเลียนกันอยู่ในวงบ่อยครั้ง คือเรื่องความเจ้าอารมณ์ของผู้หญิง ความแปรปรวน หงุดหงิดง่าย เราคุ้นชินและออกไปทางขำขันกับประโยคที่ว่า “ไม่รู้เมียหรือแม่กันแน่” โดยที่ไม่ได้คิดอะไร
 

Subscribe to วิถีเพศภาวะ