สิทธิปฏิเสธการรักษา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

สื่อสารความตายแบบ ‘เบาใจ’ สื่อสารความตายด้วยหัวใจ

   สมัยเด็กๆ ทุกคนจะมีไดอารี่เล่มเล็กๆ บอกเล่าชีวิตประจำวันและความฝันว่าอยากจะทำโน่น นี่ นั่น ... เมื่อเติบโตขึ้น หลายคนมีหน้าที่การงานรัดตัว เริ่มหลงลืมไดอารี่เล่มเดิม มานึกขึ้นได้อีกครั้งวันวัยก็ร่วงโรยห่างไกลจากครั้งที่เริ่มเขียนไดอารี่เล่มแรกไปไกลโข
 
   ถ้าใครอยากเขียนบันทึกชีวิตตัวเองอีกครั้ง ขอแนะนำ “สมุดเบาใจ” ที่คงไม่ใช่ไดอารี่สวยหรูเพ้อฝัน แต่เป็นสมุดโน้ตที่บอกเล่า “ความต้องการของฉัน” เกี่ยวกับสุขภาวะในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตและ “การตายดี”
 

ผนึกภาคีเครือข่ายสร้างสุขที่ปลายทาง พลิกโฉมระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสู่ ‘การตายดี’

   คณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทางเดินหน้าพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ร่วมกับเครือข่ายและจิตอาสา เปลี่ยนทัศนคติสังคม-สานพลัง 4 ประเด็นหลัก ขณะที่แพทย์เตือนประเทศไทยเผชิญหน้าภาวะสึนามิลูกใหญ่ในระบบสุขภาพ เสนอออกกฎหมายเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการทำงาน
 

มุมมอง ‘ความตาย’ ในทัศนะ ‘คนรุ่นใหม่’

   หลายคนอาจมองว่า ‘ความตาย’ กับ “วัยหนุ่มสาว” น่าจะยังเป็นเรื่องห่างไกล หากในความจริง วัยนี้ก็ไม่ต่างจากวัยอื่น มีโอกาสอยู่ในสถานการณ์เฉียดตายได้เช่นเดียวกัน !!
 
   ดังกรณีของ “ปูเป้” ปริญลดา ศรีภัทราพันธุ์ อดีตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย ซึ่งตรวจพบในวัยเพียง 17 ปี ในช่วงเวลาที่ควรใช้ชีวิตวัยเด็กอย่างสนุกสนาน แต่กลับต้องเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อทำเคมีบำบัดนับเดือน นับปี และนั่นคือจุดพลิกผัน ทำให้ “ความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว” สำหรับเธอ
 

เชิญชวนตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลบทความ

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีกำหนดการจัดอบรมวิชาการให้แก่บุคลากรสถานบริการสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการดูแลแบบประคับประคองให้มีความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติในเรื่องการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.

สช. จับมือภาคี จัดเวทีเสวนา สิทธิการตายดีตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จับมือศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จัดเวทีเสวนาวิชาการ “สิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และแนวปฏิบัติกรณีการเสียชีวิตที่บ้าน” ไขข้อข้องใจ เมื่อเลือกวาระสุดท้าย จากไปอย่างสงบที่บ้าน ต้องผ่าศพหรือไม่
 

ครบ 1 ปีใช้สิทธิตายดี ยังไม่ค่อยกล้าใช้สิทธิ

     ...ไม่เคยปรากฏว่ามีการเรียนการสอนถึงนิยามและความหมายของคำว่า “บริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากความเจ็บป่วย” ตามที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และกฎกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งระบุไว้ใจความว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการ...อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

Subscribe to สิทธิปฏิเสธการรักษา