งานสร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 ชวนแพทย์ร่วมเล่าประสบการณ์ว่าครอบครัวควรทำอย่างไรเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรบอกความจริงหรือไม่ บอกข่าวร้ายอย่างไร ตัดสินใจแบบไหนดีในช่วงท้าย ร่างกาย จะทรมานแค่ไหน ฯลฯ รวมถึงแนวทางในภาพใหญ่ที่ควรผลักดันระบบอาสาสมัครและให้ ‘ ชุมชน’ มีส่วนร่วมในเรื่องนี้...
“ในการทำงาน การที่หมอส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรมเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย ไม่ค่อยมีในหลักสูตรแพทยศาสตร์ในโรงเรียนแพทย์ว่าผู้ป่วยแบบไหนคือผู้ป่วยระยะท้าย หมออาจไม่เข้าใจ จึงต้องมีคำจำกัดความถึงผู้ป่วยลักษณะนี้ ว่าการอยู่ในระยะท้าย หมายถึงการมีชีวิตอยู่ได้อีกกี่เดือน หมอจะได้ตระหนักว่านี่คือ palliative แล้วส่งผู้ป่วยเข้ารับบริการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเอง”
คณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทางพร้อมนำทุกภาคส่วนขับเคลื่อนนโยบายตายดีและพัฒนาระบบดูแลแบบประคับประคอง วงเสวนาชี้การถอดเครื่องพยุงชีวิตต่างๆ ในช่วงวาระสุดท้าย คือ การทำบุญครั้งสุดท้ายให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบ
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีกำหนดการจัดอบรมวิชาการให้แก่บุคลากรสถานบริการสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการดูแลแบบประคับประคองให้มีความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติในเรื่องการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.