การแชท แชร์ โพสต์ อาจใช้เวลาเพียงชั่วพริบตา แต่ข้อมูลด้านสุขภาพต่างๆนานา ปรากฏต่อสายตาผู้คนนับล้านได้ภายในเสี้ยววินาที ... นี่คือพลังของ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งบ่อยครั้งเกิดการละเมิดสิทธิด้านสุขภาพส่วนบุคคลโดยไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะในสถานพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งดูแลข้อมูลด้านสุขภาพของคนไข้ เวชระเบียนต่างๆ ล้วนเกี่ยวข้องตาม มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งให้ความคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ไม่ให้มีการเปิดเผยยกเว้นเจ้าของข้อมูลอนุญาต หรือมีกฎหมายฉบับอื่นๆ ได้บัญญัติให้ต้องเปิดเผยเท่านั้น
การคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดปัญหาการนำข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเช่น รายละเอียดการรักษาโรค ฟิล์มเอ็กซเรย์ และภาพถ่ายของผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ เวชระเบียนผู้ป่วย ถูกนำไปเผยแพร่ทางช่องทางต่างๆทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางครั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล
...ผิดหรือใช้ไม่สมเหตุผลอาจจะเกิดโทษได้ นอกจากนี้ ศิริราชมุ่งหวังถึงการใช้ยาของผู้คนในประเทศให้เกิดประโยชน์ไม่ใช่เป็นโทษ ซึ่งไทยกำลังเข้าสู่กระบวนการเป็นประเทศที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักที่ผลักดันเรื่องนี้ที่ได้มีการประกาศให้โรงพยาบาลสังกัด สธ.เป็นโรงพยาบาลที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ รพ.ศิริราช ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ เพราะการใช้ยาที่...อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด