นพ.อำพล | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

อำลา

   คุยกับเลขาฉบับนี้ เป็นฉบับสุดท้ายของผมในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
 
   ผมมาทำงานปฏิรูประบบสุขภาพต่อเนื่องนาน 16 ปีเศษ ตั้งแต่เป็น ผอ. สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ (สปรส.) 7 ปี เป็นเลขาธิการ คสช. 8 ปีเศษ นับว่ายาวนานทีเดียว
 
   การได้มีโอกาสทำงานสำคัญนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
 

เตรียมส่งไม้

   ผมมารับหน้าที่เป็นแกนขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี 2543 มีภารกิจจัดกระบวนการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำงานปฏิรูประบบสุขภาพในทิศทาง “สร้างนำซ่อม” โดยขยายความหมายสุขภาพ จากเรื่อง “มดหมอหยูกยา” เป็นเรื่องของสุขภาวะทางกาย ใจ จิตวิญญาณ (ปัญญา) และสังคม
 
   พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติประกาศใช้เมื่อปี 2550 มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นกลไกหลักในการเชื่อมทุกภาคส่วน อันได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ วิชาชีพ และภาคสังคม เข้ามาร่วมทำงานด้านสุขภาพ ตามแนวทางการอภิบาลแบบเครือข่ายหรือหุ้นส่วน
 

หยุดวิกฤตศรัทธาสถาบันแพทย์

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ข่าวศาลลงโทษแพทย์ที่นครศรีธรรมราชเมื่อหลายปีก่อน ถูกกระพือเกินจริงจนทำให้หมอหวาดวิตกกันไปทั่ว ข่าวความขัดแย้งเรื่องอำนาจการจัดสรรเงินทองในระบบหลักประกันสุขภาพที่โรงพยาบาลและหมอภาครัฐต้องมีภาระงานเพิ่มล้นมือ ในขณะที่ดูเหมือนว่าเงินจะน้อยลง สัมพันธภาพของหมอกับคนไข้และประชาชนเปลี่ยนไป หมอพี่ๆ น้องๆ ในระบบเดียวกันที่ทำงานต่างระดับ ทะเลาะกัน ขัดแย...อ่านรายละเอียดทั้งหมด

ครม. ไฟเขียวเดินหน้าเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

   ครม. เห็นชอบ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เน้นตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในแต่ละเขตพื้นที่ เตรียมตั้ง ๑๓ เขตทั่วประเทศ มั่นใจเป็นมิติใหม่ที่ช่วยหนุนเสริมการทำงานทุกภาคส่วน ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
 

สานพลังรับมือสังคมสูงวัย

   วันนี้สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก เมื่อ30-40 ปีก่อน คนมีลูกมาก ยากจน แต่มาวันนี้ คนมีลูกน้อย ที่พร้อมไม่ค่อยท้อง ที่ท้องไม่ค่อยพร้อม แต่คนจนก็ยังมาก
 
   วันนี้มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 15แล้ว อีกเพียง 5 ปีจะมีเพิ่มเป็นร้อยละ 20 และในปี 2578 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 30
 
   สังคมไทยสูงวัย(ชรา)อย่างรวดเร็ว คนวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง เด็กเกิดน้อย ในขณะที่สังคมต้องการการผลิต การทำงาน และการพัฒนาทุกสาขาเพิ่มมากขึ้นไปตามโลก
 

กรรมการสุขภาพแห่งชาติห่วงผลกระทบสุขภาพคนไทย เสนอ ครม. เตรียมพร้อมเรื่องการค้าเสรี ทั้งเชิงรุกเชิงรับ

   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ ๔ แนวทางลดผลกระทบด้านสุขภาพ สร้างความสมดุลจากการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ หวั่นต่างชาติคุมธุรกิจและสิทธิบัตรยาเบ็ดเสร็จ กระทบผู้ป่วยคนไทยต้องซื้อยาแพงและเข้าถึงการรักษายากลำบาก พร้อมหนุนรัฐลดเงื่อนไขกีดกันบริษัทคนไทยในประเทศคู่ค้า หวังสร้างความเท่าเทียมกันให้มากขึ้น
 

Subscribe to นพ.อำพล