แร่ใยหิน | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

ดัน ‘แบนแร่ใยหิน’ สู่วาระชาติ - ชู สธ. เป็นต้นแบบ ไฟเขียว! แนวขับเคลื่อน ‘มติสมัชชาสุขภาพฯ’ ปี 64 - 65

   คมส. เห็นชอบผลักดัน ‘การแบนแร่ใยหิน’ เป็นวาระแห่งชาติ ให้ สธ.นำร่องหน่วยงานรัฐเป็นต้นแบบ ‘ยกเลิกการใช้แร่ใยหิน’ และให้ประกาศ ‘โรคที่เกิดจากเหตุแร่ใยหิน’ เป็นกลุ่มโรคสำคัญ พร้อมเคาะแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2564 - 2565 เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สร้างพื้นที่กลางเชื่อมโยงข้อมูลและความร่วมมือ หวังสร้างสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน
 

บนเส้นทาง...สู่ ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ครั้งที่ 58 มีมติหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการป้องกันและควบคุมมะเร็ง และการประชุมครั้งที่ 60 มีการรณรงค์ยกเลิกใช้แร่ใยหินทุกชนิดเพื่อควบคุมและกำจัดโรคที่จะเกิดจากแร่ใยหิน ขณะเดียวกันรายงานการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กระทรวงสาธารณสุขปี 2556 พบว่า สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคปอดจากแร่ใยหินในประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งเยื่อเลื่อม 12 คน โดยมีความสัมพันธ์กับการสัมผัสแร่ใยหิน จำนวน 5 คน
 
   ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องนี้มากว่า 10 ปีแล้ว ตัวอย่างสำคัญปรากฏในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3

เดินหน้าขับเคลื่อน ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   เป็นเวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษ ที่เครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งฟากฝั่งวิชาชีพ วิชาการ ภาคประชาสังคม ได้ทำงานล่มหัวจมท้ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ด้วยการ “แบนแร่ใยหิน” ให้พ้นจากประเทศอย่างถาวร
 

ตอนที่ 5 กระเบื้องมือสอง

   กระเบื้องมือสองจำนวนมากถูกเก็บจากไซต์งานก่อสร้างเพื่อส่งไปขายต่อในชุมชน ด้วยราคาที่ต่ำอย่างเหลือเชื่อจนไม่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไปได้ ทำให้กระเบื้องเหล่านั้นได้รับความนิยมจากชาวบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
 
   พฤติกรรมการใช้กระเบื้องมือสองจึงกลายมาเป็นเรื่องปกติของคนในชุมชน โดยกระเบื้องเหล่านั้นถูกดัดแปลงไปใช้ประโยชน์หลากหลายสุดแต่ใครจะจินตนาการ บางคนเพียงแค่นำไปปรับปรุงห้องหับ แต่บางคนถึงกับนำไปใช้แทนเขียงหั่นผัก-ผลไม้ หรือในหมู่กระเบื้องที่แตกหักสภาพไม่สมประกอบ ชาวบ้านก็ยังนำไปถมที่ถมทาง
 

ตอนที่ 4 สำรวจ ‘นานาทัศนะ’ Stakeholders ทุกฝ่ายเห็นพ้องภัยร้ายจาก ‘แร่ใยหิน’

   แม้จะเป็นเวลาเกือบ 1 ทศวรรษของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้าใจให้สังคมไทยตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจาก “แร่ใยหิน” แต่เส้นทางตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่าการขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดเป็นเรื่องที่ยาก
 
   และถึงแม้ว่า ในปี 2553 ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ได้มีฉันทมติร่วมกันใน มติที่ 3.1 เรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และในปีถัดมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบพร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการ “แบนแร่ใยหิน” ภายใน 4 ปี
 

ตอนที่ 3 ต้องรอให้ป่วยเพิ่มอีกเท่าใด สังคมไทยจึงจะ ‘แบน’ แร่ใยหิน

   แม้ว่าจะมีข้อมูลทางวิชาการรองรับอย่างแน่นหนา และถึงแม้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเกือบทั่วทั้งโลกจะเห็นพ้องต้องกันว่า “แร่ใยหิน” คือหายนะต่อสุขภาพที่รัฐสมควรใช้ยาแรง “แบน” ให้หมดไปจากแผ่นดิน
 
   หากแต่จนถึงขณะนี้ สถานการณ์ในประเทศไทยกลับสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น เพราะยังคงมีปริมาณการนำเข้าแร่ใยหินมหาศาล โดยตัวเลขปี 2560 พบการนำเข้าสูงถึง 4 หมื่นตัน ติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศผู้นำเข้าแร่ใยหินมากที่สุดในโลก
 

Subscribe to แร่ใยหิน