ตายดี | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

วางแผน “ตายดี” ทางเลือกสร้างสุขปั้นปลาย

   งานสร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 ชวนแพทย์ร่วมเล่าประสบการณ์ว่าครอบครัวควรทำอย่างไรเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรบอกความจริงหรือไม่ บอกข่าวร้ายอย่างไร ตัดสินใจแบบไหนดีในช่วงท้าย ร่างกาย จะทรมานแค่ไหน ฯลฯ รวมถึงแนวทางในภาพใหญ่ที่ควรผลักดันระบบอาสาสมัครและให้ ‘ ชุมชน’ มีส่วนร่วมในเรื่องนี้...
 

‘การตายดี’ สิทธิที่ทุกคนต้องเข้าถึง

   “ในการทำงาน การที่หมอส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรมเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย ไม่ค่อยมีในหลักสูตรแพทยศาสตร์ในโรงเรียนแพทย์ว่าผู้ป่วยแบบไหนคือผู้ป่วยระยะท้าย หมออาจไม่เข้าใจ จึงต้องมีคำจำกัดความถึงผู้ป่วยลักษณะนี้ ว่าการอยู่ในระยะท้าย หมายถึงการมีชีวิตอยู่ได้อีกกี่เดือน หมอจะได้ตระหนักว่านี่คือ palliative แล้วส่งผู้ป่วยเข้ารับบริการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเอง”
 

‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ในสังคม

   เวที ‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ชี้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกำลังสร้างวิกฤตต่อความหมายทั้งกับชีวิตและความตาย นักวิชาการย้ำความหมายของความตายเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและสัมพันธ์กับคำถามว่า ‘ชีวิตที่ดีคืออะไร?’
 
   วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัด เสวนา REST IN PEACE 4 : วิกฤตความหมายในความตาย จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ
 

สื่อสารความตายแบบ ‘เบาใจ’ สื่อสารความตายด้วยหัวใจ

   สมัยเด็กๆ ทุกคนจะมีไดอารี่เล่มเล็กๆ บอกเล่าชีวิตประจำวันและความฝันว่าอยากจะทำโน่น นี่ นั่น ... เมื่อเติบโตขึ้น หลายคนมีหน้าที่การงานรัดตัว เริ่มหลงลืมไดอารี่เล่มเดิม มานึกขึ้นได้อีกครั้งวันวัยก็ร่วงโรยห่างไกลจากครั้งที่เริ่มเขียนไดอารี่เล่มแรกไปไกลโข
 
   ถ้าใครอยากเขียนบันทึกชีวิตตัวเองอีกครั้ง ขอแนะนำ “สมุดเบาใจ” ที่คงไม่ใช่ไดอารี่สวยหรูเพ้อฝัน แต่เป็นสมุดโน้ตที่บอกเล่า “ความต้องการของฉัน” เกี่ยวกับสุขภาวะในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตและ “การตายดี”
 

Subscribe to ตายดี