สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ภารกิจของ สช.

สานพลังความรู้ นโยบาย และสังคม เพื่อนำไปสู่นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา

สมัชชาสุขภาพ

เครื่องมือพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม

ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ

กรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ

วิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวก และทางลบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม

สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

สิทธิด้านสุขภาพทั้ง ๘ เรื่องตามมาตรา ๕-๑๒ เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสนับสนุนให้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ

เขตสุขภาพเพื่อประชาชน

เขตพื้นที่สำหรับดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพให้เกิดการบูรณาการ
สังคมสูงวัย ‘วิกฤต’ หรือ ‘โอกาส’ ของประเทศไทย

คุยกับเลขาฯ

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มาถึงปัจจุบันปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ไทยมีสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๑๓ ล้านคน หรือร้อยละ ๒๐ ของประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ขณะที่อัตราการเกิดของคนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่า จะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) หรือมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๓๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๖