สช.ขยายแนวคิดกลไกการมีส่วนร่วมสู่ข้าราชการรุ่นใหม่ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) อาคารศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร นายจารึก  ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ คสช. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยน เรื่อง กลไกการมีส่วนร่วมตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และบทบาทของ สช. ให้กับข้าราชการรุ่นใหม่ ประมาณ 40 คน ในหลักสูตร นปร. (นักบริหารการเปลี่ยนแปลง) รุ่นที่ 16 คอร์ส Policy Innovation โดย Thailand Policy Lab คลาสวันที่ 3 มกราคม 2567, 9.30-12.00 ประเด็น "กลไกการมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบนโยบายสาธารณะและกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คณะวิทยากรประกอบด้วย ผู้แทน กพร., สภาพัฒน์, กรอ., สมัชชาคนจน, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และ ilaw
 

นโยบายสาธารณะ


ผู้แทน สช. ได้เล่าถึงเจตณารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมหลายภาคส่วนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามหลักคิด "สร้างนำซ่อม", มุมมองสุขภาพที่กว้างขึ้น ในมุมมองสุขภาพ 4 มิติ (กาย จิต ปัญญา และสังคม), กลไกการมีส่วนร่วมสำคัญ คือ กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (Participatory Public Policy Process based on Wisdom: 4P-W) เน้นการทำงานร่วมกันตามยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา (พลังทางสังคม พลังวิชาการ และพลังนโยบาย) ตัวอย่างประเด็นนโยบายสาธารณะ เช่น ระบบสุขภาวะทางจิตเพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง, การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่, การส่งเสริมการพัฒนาประชากรให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ และการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น โดยมีเครื่องมือหรือกลไกการมีส่วนร่วมสำคัญตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ ประกอบด้วย ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2565 ที่เป็นกรอบทิศทางหลักด้านสุขภาพของประเทศ และมีการประยุกต์ใช้เป็นกติกา ข้อตกลงร่วมในระดับพื้นที่ตำบล/ชุมชน, สิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพและการประเมินผลประทบด้านสุขภาพ, สมัชชาสุขภาพ (สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ, สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น และสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่/สมัชชาสุขภาพจังหวัด) รวมทั้งมีคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ที่ทำหน้าที่พัฒนาระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขตพื้นที่
 

นโยบายสาธารณะ


การเข้าร่วมเป็นวิทยากรครั้งนี้ ทำให้น้องๆ ข้าราชการรุ่นใหม่ ได้รู้จัก สช. และกลไกการมีส่วนร่วมตาม พ.ร.บ.สุขภาพฯ มากขึ้น และ สช. เองก็ได้ประโยชน์ในการร่วมพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะรูปแบบใหม่ๆ ร่วมกับคนรุ่นใหม่ และ Thailand Policy Lab ต่อไป
 

นโยบายสาธารณะ

 

นโยบายสาธารณะ

 

นโยบายสาธารณะ

 

จารึก ไชยรักษ์


 

รูปภาพ
จารึก ไชยรักษ์