ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน : สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน


เวทีเสวนาและนำเสนองานวิจัย 
“ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน: 
สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ” 
วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ และ Facebook และ YouTube : EconTU Official 

วัตถุประสงค์
 เพื่อให้เกิดการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็น และการเชื่อมโยงนโยบายการพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันและทิศทางที่ควรมุ่งไปในอนาคต 
เป้าหมายกลุ่มผู้รับชม
 ภาคประชาชน ภาคนโยบาย และ ภาควิชาการ

รูปแบบกิจกรรม
 นำเสนองานวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ” โดยคณะผู้วิจัย และ เปิดเวทีเสวนาประเด็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในหัวข้อ “การพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติให้มีความเป็นธรรมและยั่งยืน – สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ”
 - Online Live ผ่านสื่อมวลชน

ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา
 ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ภาคนโยบาย ภาควิชาการ และ ภาคประชาชน เป็นผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา

วันเวลาการจัดกิจกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook และYouTube : EconTU Official 

คลิกดู กำหนดการ ที่นี่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้กำหนดนโยบายและผู้เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่สนับสนุนหรือผู้ที่สนใจ สามารถเผยแพร่องค์ความรู้และข้อค้นพบจากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงนโยบายการพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติในปัจจุบัน ตลอดจนการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็น 

2. ผู้กำหนดนโยบายและผู้เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่สนับสนุนหรือผู้ที่สนใจ สามารถนำไปใช้ในการจัดการความรู้เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันและทิศทางที่ควรมุ่งไปในอนาคต 

3. ผู้กำหนดนโยบายและผู้เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่สนับสนุน มีส่วนในการตัดสินใจเพื่อได้เห็นประเด็นปัญหาและความท้าทายในภาพรวม 

4. สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อสร้างความตระหนักและการตื่นตัวในการสร้างหลักประกันให้กับตนเองในยามสูงวัย

รูปภาพ
บำนาญถ้วนหน้า