สช. หนุนสร้าง ‘ข้อตกลงร่วม’ ของคนกรุง วางกติกาการอยู่ร่วมกันเพื่อสุขภาวะดี เริ่มแล้ว 12 เขต จ่อดันเพิ่มอีก 10 เขต | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สช. เปิดวงพัฒนาศักยภาพ สนับสนุนนำร่อง “ธรรมนูญสุขภาพเขต” ของกรุงเทพฯ เพิ่มอีก 10 เขต หลังสร้างกติกา-แนวทางยกระดับสุขภาวะคนเมืองไปได้แล้วใน 12 เขตพื้นที่ พร้อมผนวก “ธรรมนูญเกาะล้าน” เตรียมเดินหน้าเป็นแห่งแรกของเมืองพัทยา ร่วมวางแนวทางสร้างส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน
 

ปรีดา แต้อารักษ์


เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2565 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพและกลไกขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเขตในพื้นที่นำร่อง 10 เขต กรุงเทพมหานคร และ 1 เมืองพัทยา เพื่อพัฒนาศักยภาพ กลไก คณะทำงานระดับเขต สู่ความเข้าใจร่วมในการพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตัวแทนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 10 เขต มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ 5 แห่ง พร้อมด้วยคณะทำงานธรรมนูญเกาะล้าน เมืองพัทยา เข้าร่วมกว่า 150 คน

นพ.ปรีดา
แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2563 ที่ กทม. ได้เริ่มมีการขับเคลื่อนและยกร่าง “ธรรมนูญสุขภาพกรุงเทพมหานคร” ขึ้นมาเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติในการสร้างสุขภาวะที่ดีของชาว กทม. รวมทั้งขยายผลสู่ธรรมนูญสุขภาพในระดับเขต ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมาได้ทำให้เกิด “ธรรมนูญสุขภาพเขต” ไปแล้วรวม 12 เขตพื้นที่ มาถึงวันนี้นับเป็นโอกาสดีที่จะเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนให้เกิดธรรมนูญสุขภาพเขต เพิ่มเติมอีก 10 เขตพื้นที่ รวมถึงธรรมนูญเกาะล้าน ของเมืองพัทยา ที่กำลังอยู่ระหว่างการเดินหน้าด้วยเช่นเดียวกัน

 

ปรีดา แต้อารักษ์


นพ.ปรีดา กล่าวว่า พร้อมกันนี้ยังมีมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ 5 แห่ง ประกอบด้วย มรภ.จันทรเกษม มรภ.พระนคร มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา มรภ.สวนสุนันทา และ มรภ.ธนบุรี เข้ามาเป็นเครือข่ายภาควิชาการที่ร่วมมีบทบาทในการสร้างและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเขตให้ไปข้างหน้า จึงเชื่อว่าพลังจากหลายภาคส่วนที่เข้ามาร่วมมือกันนี้ พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร กทม. เองที่ให้ความสนใจในการมีส่วนร่วม จะช่วยให้เราสามารถเดินหน้าการสร้างธรรมนูญสุขภาพเขต เป็นแนวทางในการสร้างสังคมสุขภาวะต่อไปสู่เขตที่เหลือใน กทม. ทั้งหมดได้อย่างมั่นคง
 

ปรีดา แต้อารักษ์


นพ.วงวัฒน์
ลิ่วลักษณ์ ประธานคณะทำงานพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เมืองใหญ่อย่าง กทม. รวมไปถึงพัทยา ต่างมีสภาพสังคมที่ประกอบด้วยผู้คนมากมายและหลากหลาย เช่นเดียวกับปริมาณของปัญหา ทั้งในเชิงสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจหรือสังคม ซึ่งกลไกการมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำแผนในระดับพื้นที่ อย่างธรรมนูญสุขภาพ จะเป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาที่ช่วยหนุนเสริมนอกเหนือจากการทำงานของภาคราชการ เป็นการเน้นการขับเคลื่อนในระดับเส้นเลือดฝอย ที่จะช่วยให้ปัญหาในพื้นที่ถูกดำเนินการจัดการได้อย่างเป็นระบบ


“ธรรมนูญสุขภาพจะเป็นตัวกำหนดกรอบ ทิศทาง กติกาที่ทำให้เกิดสุขภาวะที่ดี อย่างของ กทม. เราวางหลักการไว้ เช่น มุ่งให้ความสำคัญการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ คือเราต้องเข้าใจปัญหาว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นอุปสรรคในพื้นที่เรา แล้วมาวางเป้าหมายร่วมกัน ส่วนในระดับเขตที่ปัญหาอาจแยกย่อยเป็นคนละแบบ ก็จะเขียนกว้างแบบ กทม. ไม่ได้ แต่ต้องวิเคราะห์เองด้วยข้อมูลและการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่” นพ.วงวัฒน์ กล่าว
 

วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์


นพ.วงวัฒน์ กล่าวว่า ในส่วนนโยบายด้านสุขภาพของ กทม. ซึ่งกำลังจะเน้นหนักไปที่ระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงต้องมีแนวทางจัดการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การเยี่ยมบ้านออนไลน์ การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ไปสู่การเป็นสมาร์ท อสส. การจัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพปัญหาในพื้นที่ รวมไปถึงการใช้เงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.) มาสร้างประโยชน์ด้านสุขภาพให้กับคนในพื้นที่ เป็นต้น

ขณะที่ พญ.สุธี สฤษฎิ์ศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 67 ทวีวัฒนา กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เราเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่า หากพื้นที่ใดมีความเข้มแข็ง มีแกนนำในการประสานงาน เอื้อให้ภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ ร่วมมือกันเข้าไปช่วย จะทำให้ชุมชนนั้นจัดการกับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว เพราะโรคระบาดไม่สามารถจัดการได้ด้วยภาครัฐฝ่ายเดียว แต่จะต้องมีความร่วมมือของภาคประชาชนด้วย ซึ่งหลักการนี้ทำให้ธรรมนูญสุขภาพ เป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ในการทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพได้
 

สุธี สฤษฎิ์ศิริ


พญ.สุธี กล่าวว่า อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบของคนเมืองใน กทม. คือการมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ อย่างเขตทวีวัฒนาที่มี 16 ชุมชน จะเห็นความแตกต่างระหว่างชุมชนเมือง หมู่บ้าน ที่มีระยะห่างต่างคนต่างอยู่ เมื่อเทียบกับชุมชนชานเมืองที่เป็นชุมชนดั้งเดิม ซึ่งมีกลไกการมีส่วนร่วมที่มากกว่าชัดเจน ดังนั้นการที่ธรรมนูญสุขภาพจะขับเคลื่อนได้ จึงต้องสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งก่อน มองหาผู้นำชุมชนที่มีความเข้าใจ มีทีมที่มีศักยภาพ ใช้ต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่ รวมถึงกลไกในการสนับสนุนต่างๆ

ด้าน เพ็ญวดี แสงจันทร์ ผู้จัดการมูลนิธิดวงประทีป กล่าวว่า ในส่วนของชุมชนแออัดเขตคลองเตย เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนจน หรือกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากของเมือง เนื่องด้วยราคาที่ถูก และอยู่ใกล้เมือง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความแออัด สภาพแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐานทุกด้าน แต่เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ชุมชนเริ่มลุกขึ้นมาแสดงศักยภาพ จัดการดูแลร่วมกัน พร้อมด้วยการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ที่ยื่นมือเข้ามา ทำให้เกิดภาพของความสำเร็จในการรับมือกับโควิด
 

เพ็ญวดี แสงจันทร์


เพ็ญวดี แสงจันทร์ กล่าวว่า เมื่อมองไปถึงการแก้ไขปัญหาในด้านอื่นๆ ของคลองเตย จึงนำมาสู่การจัดวงแลกเปลี่ยน และร่วมกันตกผลึกออกมาเป็นข้อเสนอ 7 มิติ เพื่อพัฒนาชุมชนคลองเตย ประกอบด้วยข้อเสนอด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน และด้านสังคม ซึ่งทำให้ชุมชนได้ร่วมกันรับรู้และเห็นภาพที่ต่อเนื่องกันมากขึ้น และสุดท้ายจะนำไปสู่การร่วมกันลงมือทำต่อไป
 

ธรรมนูญชุมชน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

กลุ่มงานสื่อสารสังคม สช.

โทร. 02-8329141

 

รูปภาพ
ธรรมนูญสุขภาพเขต