กขป.เขตพื้นที่6 และภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดระยอง เดินหน้าขับเคลื่อนวาระอาหารปลอดภัยและนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดระยอง | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
1

 

เมื่อวันที่ 23 - 24 พฤษภาคม 2567 นายประชา เตรัตน์ ประธานกขป.เขตพื้นที่ 6 กล่าวเปิดพื้นที่จังหวัดระยอง ในปี 2567 เพื่อเป็นจังหวัดที่ 2 ในเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่นำแผนจากการบันทึกความร่วมมือ “เสริมพลัง สร้างพื้นที่อาหารปลอดภัย" กขป.เขต พื้นที่ 6  ปี 2566 และจะมีการขยายพื้นที่ในปี2567 ครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานผู้แทนคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มูลนิธิชีววิถี พื้นที่จากอสม.ในพื้นที่ และอบจ.ระยอง 


โดยประเด็นอาหารปลอดภัยได้มีการบันทึกความร่วมมือบูรณาการขับเคลื่อนวาระอาหารปลอดภัยวางเป้าหมาย3ปี (พ.ศ.2566 - พ.ศ.2569) ผลักดันให้เกิดรูปธรรมระดับพื้นที่ จึงเกิดการเชื่อมโยงแผนงานขับเคลื่อนวาระอาหารปลอดภัยและนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดระยอง สนับสนุนโครงการพัฒนาความรู้และสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนความปลอดภัยด้านอาหาร 8 อำเภอ จำนวน 116 คน   

 

2

 

นายประชา  เตรัตน์ ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตพื้นที่ 6 ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนกับการมีส่วนร่วมในพื้นที่ซึ่งถือเป็นการขยายเครือข่ายเฝ้าระวังในการสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัย และให้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนวาระอาหารปลอดภัย ไปยังพื้นที่ให้มีประโยชน์สูงสุดนั่นความมุ่งหวังตามภารกิจกขป.เพราะมีความหมายเพื่อประชาชนทั้งสิ้น


จากสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยทางอาหาร กขป.เขตพื้นที่ 6 กำหนดให้เป็นวาระเร่งด่วนในการขับเคลื่อนงานปี 2567

ซึ่งเป็นประเด็นด้านสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่มีอยู่มากจึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความต้องการปัจจัยด้านต่างๆในการดำรงชีวิตด้านความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยจากพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ ส่วนมากมีการใช้สารเคมีการเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้ลักษณะของผลผลิตที่ตรงกับความต้องการของบริโภค ทำให้ก่อให้เกิดสารตกค้างของสารเคมีการเกษตรในการผลผลิตที่จำหน่ายในตลาดที่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค 

3

 

กขป.เขตพื้นที่ 6 จึงเล็งเห็นความสำคัญ เพื่อให้การขับเคลื่อนวาระอาหารปลอดภัยในเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ร่วมเสริมข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ ให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นำไปสู่การสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน

4

 

กิจกรรมภายในงานมีการฝึกปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ได้รับความร่วมมือจากทีมนักวิชาการคุ้มครอง ผู้บริโภคเมืองพัทยา และได้รับเกียรติการแลกเปลี่ยนจาก ดร.ปิยะ  ปิตุเตชะ  ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดระยอง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภค ในหัวข้อเส้นทางอาหารปลอดภัยและการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และ เครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นจากสารอันตรายปนเปื้อนในอาหาร และแลกเปลี่ยนบทบาทในการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่จะกำหนดระบบเกษตรกรรมและอาหารของชุมชนเอง นโยบายในเรื่องเกษตรและอาหาร รวมถึงองค์ความรู้  จุดคาดงัดที่สำคัญในเรื่องความปลอดภัยเพื่อสร้างหลักประกันในพื้นที่อาหารที่ปลอดภัยของ เขตพื้นที่ 6 ในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถปฏิบัติการร่วมกันได้ทันที

5

 

รูปภาพ