เกาะติด 4PW | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

ขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพเขตเมือง

   ภาพที่ทุกคนอาจจะรู้สึกเหมือนๆ กัน ก็คือ พื้นที่เขตเมืองน่าจะมีความเจริญและความพรั่งพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะมิติทางสุขภาพแล้ว น่าจะมีความสมบูรณ์ไม่ตกหล่น
 
   อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในเรื่อง “ระบบบริการสุขภาพ” กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากวิเคราะห์สถานการณ์ระบบบริการสุขภาพเขตเมืองแล้วจะพบว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรมีจำกัด ระบบให้บริการไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปรากฏข้อจำกัดด้านคุณภาพ การเข้าถึง และความเป็นธรรม
 

‘คำนิยาม’ ดูแลแบบประคับประคองฉบับทางการของไทย

   ว่ากันตามคำจำกัดความของ องค์การอนามัยโลก (WHO) การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หายด้วยการป้องกัน บรรเทาอาการ ตลอดจนบรรเทาความทุกข์ทรมานด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น นับเป็นการดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ อันได้ แก่ กาย ใจ ปัญญา และสังคมของผู้ป่วย
 
   ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีการพูดถึงการดูแลรักษาแบบประคับประคองมากขึ้น แต่กลับพบปัญหาเรื่องการตีความที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการที่ล้วนแต่ตีความไปตามบริบทและอำนาจหน้าที่ของตัวเอง
 

สช.ยกเครื่องการสื่อสาร ‘สิทธิตายดี’ จัดทำ ‘Sit-com’

   “สิทธิการตายตามธรรมชาติ” ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 รับรองสิทธิให้ทุกคนสามารถทำ “หนังสือแสดงเจตนา” ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตได้
 
   นั่นสะท้อนถึงความก้าวหน้าของประเทศไทย สะท้อนถึงการให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลและความเป็นมนุษย์
 
   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะกลไกหลักภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนเรื่อง “สิทธิการตายตามธรรมชาติ” อย่างจริงจัง และยังร่วมกันสื่อสารกับสังคมอย่างเข้มข้น
 

ขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย Knock door พรรคการเมืองแบนสารเคมี

   คงไม่จำเป็นต้องอธิบายความสำคัญเรื่องเกษตรและอาหารปลอดภัยให้มากความ เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่า นั่นหมายถึง “ชีวิต - ลมหายใจ” ของพวกเราทุกคน
 
   “เกษตรและอาหารปลอดภัย” นับเป็นหนึ่งใน “กลุ่มมติ” สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมโดยเร็ว อย่างจริงจัง และยั่งยืน
 
   โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สถานการณ์สารเคมีกำลังท่วมท้นผืนแผ่นดินไทย การขับเคลื่อนประเด็นนี้จึงมีเดิมพันที่สูง จังหวะและการกำหนดเส้นทางขับเคลื่อน (Roadmap) จึงต้องแหลมคม
 

ระดมสมองขยับมติฯ ‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น’

   ตลอดระยะเวลา 11 ปี ที่ผ่านมา มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจาก “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (อปท.) ในการขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรม ขณะเดียวกันก็มีหลากหลายพันธกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการอยู่มีความสอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้วยเช่นกัน
 
   ดังนั้น หากทั้งสองฟากฝั่งหนุนเสริมซึ่งกันและกัน แน่นอนว่า ผลดี ซึ่งหมายถึง “สุขภาวะดี” ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน !!
 
   ในการประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ เป็นกลุ่มมติร่วมกันผ่าน

ห่วงนโยบายดูแลชาวต่างชาติกระทบผู้ป่วย ‘บัตรทอง’

   การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในมุมหนึ่งก็คือการต่อรองผลประโยชน์ระหว่างกันโดยมีมิติความสัมพันธ์และมิติเชิงอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่างย่อมหมายถึงการแลกเปลี่ยนด้วยบางสิ่งบางอย่างออกไป
 
   หลากหลายประเด็นเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศเต็มไปด้วยข้อห่วงใยและข้อกังวล เราจึงคุ้นเคยกับข่าวตามหน้าสื่อที่มักตั้งคำถามถึงความสมดุลระหว่างการได้มาและการเสียไปอยู่เสมอ
 
   หนึ่งในนั้นก็คือ ‘ตัวเลขทางเศรษฐกิจ’ กับ ‘ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน’
 

Subscribe to เกาะติด 4PW