การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

วงวิชาการดัน ‘HIA’ สร้างสุขภาวะอีสาน แก้ปัญหาผลกระทบ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’

   นักวิชาการเผยสถานการณ์ ‘โรงไฟฟ้าชีวมวล’ พบภาคอีสาน 15 จังหวัด มีโรงไฟฟ้าจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว 71 บริษัท หวั่นชาวบ้านอ่วมสารเคมี เหตุแผนพลังงานทดแทนฯ เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีกกว่า 6 ล้านไร่ ด้าน สช.ผนึกภาคีจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” จากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
 

สช. ดันแผนยุทธศาสตร์ พัฒนา HIA ทั้งระบบ รองรับสถานการณ์สุขภาพในอนาคต

   สช. ลงนาม MOU ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ พร้อมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) นัดแรก หวังพัฒนา HIA รองรับสถานการณ์สุขภาพในอนาคต ผลักดันงานวิชาการ บูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน
 

“โรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน” กับพลังชุมชน

   การประท้วง การร้องเรียน กระทั่งการอภิปรายในรัฐสภาเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้อีสานเป็นไบโอฮับหรือศูนย์กลางฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และตั้งแต่ปี 2558 ก็มียุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย 10 ปี 2558-2569 โดยตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ปลูกอีก 6 ล้านไร่ภายในปี 2569 เพิ่มการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลในภาคอีสานจาก 20 เป็น 30 แห่ง พ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 29 แห่ง
 

หลักสูตร HIA online ภายใต้สถานการณ์ Covid-19

ปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ไม่ได้จำกัดวงผลกระทบต่อระบบสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งกระทบกับระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคมจากมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อไม่ให้การระบาดของโรครวดเร็วเกินไป โดยเฉพาะมาตรการ การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing ที่ไม่ให้ผู้คนรวมกลุ่มกันจำนวนมาก ลดการระบาดของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลกระทบถึงกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดอบรม สัมมนา ที่ต้องยกเลิก หรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

Subscribe to การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ