มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : เกิดมาตรการที่ชัดเจน อาทิ ฉลากโภชนาการ ที่มีลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม
3.2 ใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม

อ้างอิงมติข้อ 3 ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและคณะกรรมการอาหารแห่งชาติโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้ดำเนินการดังนี้

รายงานความก้าวหน้า

1. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยนายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 แจ้งความคิดเห็นที่ไม่สนับสนุนการนำฉลากโภชนาการลักษณะสีสัญญาณมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรหรือฉลาก GDA โดยมีเหตุผลสำคัญว่าไม่สอดคล้องกับหลักการด้านฉลากโภชนาการของ CODEX

2. เครือข่ายสนับสนุนมาตรการฉลากอาหารสีสัญญาณ ยื่นหนังสือนายกฯ และรมว.กระทรวงสาธารณสุข (รมว.ให้คนมารับแทน) วันที่ 22 มีนาคม 2554 หนุนจัดเรตติ้งฉลากขนมตามสัญญาณไฟจราจร พร้อมรายชื่อผู้สนับสนุนกว่า 1,100 ราย

3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด (ฉบับที่ 2) กำหนดให้แสดงค่าพลังงาน น้าตาล ไขมัน และโซเดียมในรูปแบบ GDA กับอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิตและเวเฟอร์สอดไส้ โดยประกาศฉบับนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2554

4. วันที่ 5 เมษายน 2554 เครือข่ายสนับสนุนมาตรการฉลากอาหารสีสัญญาณ ยื่นหนังสือให้เลขาคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้นายกรัฐมนตรี-ประธานคสช. พิจารณายับยั้งการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด (ฉบับที่ 2)

5. สำนักงานอาหารและยา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ได้จัดทำร่างการบังคับใช้สัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม ได้แก่ โดยร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่…พ.ศ. …เรื่องการแสดงฉลากอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป ที่เตรียมออกมาใหม่นั้น จะแบ่งออก 5 กลุ่มสินค้า ได้แก่ 1. กลุ่มขนมขบเคี้ยว มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวเกรียบ สาหร่ายทอดกรอบ ปลาเส้น และถั่ว 2. ช็อกโกแลต 3. กลุ่มขนมอบ คุกกี้ เค้ก ขนมปังกรอบ บิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้ 4. อาหารกึ่งสำเร็จรูปและ 5. อาหารแช่เย็นและอาหารแช่แข็ง ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากฟาร์มเฮ้าส์ในโครงการฟาร์มเฮ้าส์ สคูลทัวร์ ที่รณรงค์ให้อ่านฉลากเป็นตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลบนฉลากที่จะทำให้สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

6. เอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 24 เมษายน 2558 ได้รายงานเรื่องการปรับปรุงฉลากโภชนาการ โดยคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ชุดที่ 3 คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยงด้านอาหารโภชนาการสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ มีการประชุมเพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย โดยพิจารณาเกณฑ์สารอาหาร 8 ชนิด ได้แก่ ไขมันทั้งหมด, ไขมันอิ่มตัว, โปรตีน, ใยอาหาร, น้ำตาล, โซเดียม, แคลเซียม และธาตุเหล็ก เพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการแสดงสัญลักษณ์ พร้อมทั้งได้จัดประชุมประชาพิจารณ์ (ร่าง) เกณฑ์มาตรฐานสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่ายสำหรับกลุ่มอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที และกลุ่มอาหารมื้อหลัก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาแนวทางกำหนดเกณฑ์สำหรับกลุ่มอาหารอื่นๆ ได้แก่ อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เป็นต้น รวมทั้งมีการประชุมหารือเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานบริหารจัดการสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นเครื่องมือในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่