มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : รูปแบบที่หลากหลายโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญในการเป็นธุระในการให้ความช่วยเหลือ

2.4 ให้สถานศึกษาร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบเป็นธุระในการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบที่หลากหลายโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ

อ้างอิงมติ ข้อ 2. ขอให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดร่วมกับองค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมดำเนินงานพัฒนาการเรียนการสอนเพศศึกษา (sexuality education) จริยธรรมและศีลธรรมและจัดให้มีระบบรองรับการแก้ปัญหานักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ในระหว่างการศึกษา

รายงานความก้าวหน้า : 

  • กระทรวงศึกษาธิการจัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี ๒๕๕๕ สพฐ. จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือนักเรียนทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานกรณีเกิดเหตุไม่พึงประสงค์กับเด็กนักเรียน และมีการทดลองให้มีนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนนำร่อง ๒๔ แห่งใน ๖ จังหวัด รวมทั้งพัฒนานักเรียนแกนนำให้มีความสามารถในการเป็นเพื่อนที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาแก่เพื่อนนักเรียนที่ประสบปัญหาในเบื้องต้น
  • มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีแห่งประเทศไทย จัดทำโครงการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยโดย ได้มุ่งพัฒนาและขยายเครือข่ายผู้ให้บริการเพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย โดยเน้นการทำงานกับโรงเรียนแพทย์เพื่อผลักดันให้มีการเรียนการสอนเรื่องการการทำแท้งที่ปลอดภัยมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
  • มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) ร่วมกับ สสส. ดำเนินการพื้นที่ตำบล ๑๐ แห่ง โดยใช้แนวคิดเรื่องเพศภาวะ เพศวิถีมีการอบรมหลักสูตร ๗ วันร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ขยายการทำงานกับ อปท. ในพื้นที่เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือ การสนับสนุนงานวิจัยเป็นการทำงานของมูลนิธิฯ ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยเรื่องนดยบายสาธารณะท้องไม่พร้อม และในส่วนของ ม.มหิดล ศึกษาเกี่ยวกับอุปสรรคการทำงาน การสื่อสาร การรณรงค์