มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : 1) เกิดมาตรฐานการจัดการอาหารในโรงเรียนศึกษา
2) เกิดคู่มือการพัฒนาไปสู่มาตรฐาน และ มาตรฐานอาหารในโรงเรียน ที่เพิ่มความสำคัญกับคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และอาหารศึกษา
3) เกิดคู่มือการพัฒนาไปสู่มาตรฐาน และ มาตรฐานอาหารในโรงเรียน ที่เพิ่มความสำคัญกับคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และอาหารศึกษา

8. ขอชื่นชมกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัยที่ยินดีเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานกับ สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กรมควบคุมโรค ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคประชาชน เร่งรัดพัฒนาและดำเนินการให้ได้ตาม“มาตรฐานการจัดการอาหารในโรงเรียนและคู่มือการพัฒนาไปสู่มาตรฐาน” และ “มาตรฐานอาหารในโรงเรียน”ให้เพิ่มความสำคัญกับคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และอาหารศึกษา พัฒนาระบบสนับสนุน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและส่งเสริมการนำมาตรฐานไปใช้ในโรงเรียนทุกสังกัดและรายงานต่อคณะกรรมการอาหารแห่งชาติรับทราบ

รายงานความก้าวหน้า 

  1. สำนักโภชนาการ กรมอนามัยจัดทำคู่มือการจัดการอาหารกลางวันนักเรียน ตามมาตรฐานโภชนาการ สุขภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย สำหรับนักเรียนประถมศึกษา (กันยายน 2558)   จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบงานอาหารกลางวัน ครูอนามัยโรงเรียน แม่ครัว เครือข่ายผู้ปกครอง และแกนนำนักเรียน ตลอดจน นักวิชาการศึกษา ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันนักเรียนให้ได้มาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อนักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัยตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื้อหาของคู ่มือการจัดการอาหารกลางวันนักเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย ประกอบด้วย บทนำ ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ การพัฒนา ระบบสุขาภิบาลอาหาร การจัดการขยะ แมลง น้ำเสีย และการพัฒนาคุณภาพน้ำดื่มสะอาด เทคนิคการพัฒนา พฤติกรรมโภชนาการและสุขนิสัยที่พึงประสงค์และการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตในเด็กวัยเรียน
  2. สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำคู่มือดำเนินการโครงการอาหารกลางวันประจำปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโลนา 2019 (COVID-19)
  3. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดทำโครงการโครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 จากการเล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โดย เป้าหมาย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน
  4. สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) กระทรวงสาธารณสุขจัดสัมมนา“โครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”ระหว่างวันที่ 2 — 4 เมษายน 2556 ณ ห้องดอนเมืองบอลรูม โรงแรมอมารี ดอนเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางการรับมือความปลอดภัยด้านอาหาร การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ การประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามนโยบายอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการลดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (เมษายน 2556)
  5. สพฐ.  พัฒนาระบบการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันให้มีประสิทธิภาพ จึงได้จัดประชุมฯ เพื่อจัดทำคู่มือการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2565    
  6. มูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (มอส). จัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส