มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : เกิดกลไกคกก.ประสานความร่วมมือสนับสนุนการจัดการปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างยั่งยืน
1.1.1 ประสานเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาระบบและบูรณาการแผนการจัดการหมอกควันและไฟป่าในระดับภาคและระดับชาติ จัดทำแผนงานโครงการเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะทำงานระดับจังหวัดและพื้นที่รูปธรรม ตลอดจนประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหมอกควันและไฟป่า เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม รวมถึงเชื่อมโยงและรายงานผลการดำเนินงานต่อศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันระดับชาติและระดับภาค

อ้างอิงมติข้อ 1. ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานรวม 2 ชุดโดยการสนับสนุนของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 

1.1 คณะกรรมการประสานความร่วมมือสนับสนุนการจัดการปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างยั่งยืน  โดยมีผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และมีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานหลัก ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) สถาบันอุดมศึกษา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มูลนิธิสัมมาชีพ และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ผู้แทนชุมชน ท้องถิ่นและท้องที่ เป็นคณะกรรมการ  โดยมีภารกิจดังต่อไปนี้

รายงานความก้าวหน้า : 

  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯได้มีการประสานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองมาอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละปีได้มีการทบทวนสถานการณ์ ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และในปี 2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดทำแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองปี 2566 เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดและยกระดับการ    ดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
  • กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ที่ 775/2564 เรื่องการจัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาค 3 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 โดยบูรณาการแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM/2.5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ (ศอ.กปป.) 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับชาติ ระดับภาคและระดับจังหวัด และได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศประสาน 10 ประเทศอาเซี่ยนร่วมกันยกร่าง ASEAN Haze Free Roadmap เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในกลุ่มอาเซียน นำไปสู่การปฏิบัติได้ภายในปี 2559
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯได้มีการประสานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองมาอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละปีได้มีการทบทวนสถานการณ์ ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และในปี 2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดทำแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองปี 2566 เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดและยกระดับการ    ดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
  • กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ที่ 775/2564 เรื่องการจัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาค 3 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 โดยบูรณาการแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM/2.5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ (ศอ.กปป.) 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับชาติ ระดับภาคและระดับจังหวัด และได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศประสาน 10 ประเทศอาเซี่ยนร่วมกันยกร่าง ASEAN Haze Free Roadmap เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในกลุ่มอาเซียน นำไปสู่การปฏิบัติได้ภายในปี 2559