มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม แบบมีส่วนร่วมในประเด็น “สุขภาวะชาวนา”
3. ขอให้สภาเกษตรกรระดับจังหวัด ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเครือข่ายชาวนารุ่นใหม่ กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยจากธรรมชาติที่เข้าใจวิถีการดำรงชีวิตแบบชาวนา ปราชญ์ชาวบ้าน มหาวิชชาลัยชุมชนชาวนาเกษตรกร เป็นต้น โดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ในการเรียนรู้เพื่อยกระดับสร้างความร่วมมือ และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาองค์กรชาวนาทุกระดับทุกพื้นที่ให้มีคุณภาพ เช่น การจัดทำแผนชุมชนทุกหมู่บ้านให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ การจัดการฐานทรัพยากรการผลิตข้าวโดยชุมชน (ดิน น้ำ ป่า) ศูนย์ข้าวชุมชน ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ข้าว ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมด้านกสิกรรม ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะชาวนาทั้งในและนอกระบบ เป็นต้น

รายงานความก้าวหน้า 

1. สำนำกงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่ 4 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายประชาสังคมชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกร ยกระดับพัฒนาเป็นแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม เชื่อมโยงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรระดับตำบล แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล แผนพัฒนาเกษตรกรรมอำเภอ แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและความมั่นคงทางอาหาร

2. สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลำปาง เครือข่ายองค์กรเอกชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดลำปาง บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาเชิงบูรณาการของหน่วยงานราชการจังหวัดลำปาง เพื่อประสานความร่วมมือขับเคลื่อนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการจัดทำแผนแม่บทชุมชน เช่น ด้านที่ดินทำกิน หนี้สิน แหล่งน้ำ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น 

3. สภาเกษตรกรระดับจังหวัด จัดทำแผนพัมนาเกษตรกรระดับตำบล โดยจัดทำชุดข้อมูลประกอบการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล ไปจนถึงกิจกรรมที่นำไปขับเคลื่อนพัฒนาอาชีพ และแก้ปัญหาด้านการเกษตรซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้

  1. จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลได้ 84 ตำบล
  2. ส่งแผนพัฒนาเกษตรกรรมเพื่อบรรจุเป็นข้อบัญญัติ อปท. จำนวน 84 ตำบล
  3. จัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาด้านการเกษตร จำนวน 108 เรื่อง
  4. จัดทำโครงการกิจกรรมนำร่องขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร จำนวน 112 โครงการ
  5. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่แสดงความร่วมมือบูรณาการของแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบล จำนวน 85 กิจกรรม