มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : ระบบและมาตรการทางการเงินการคลังที่อยู่อาศัยเพื่อสุขภาวะที่สอดคล้องกับภาระในการจ่ายของคนทุกกลุ่ม
-

อ้างอิงมติ -

รายงานความก้าวหน้า 

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 มติ 9.2 การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ Flagship 2565: การเงินที่อยู่อาศัย โดยร่วมกับเครือข่าย Urban Smile.net  และมูลนิธิศักยภาพชุมชน ในการดำเนินงานระดมความคิดเห็น หน่วยงาน/องค์กร และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านการเงิน การธนาคาร และสังคม จนนำมาสู่ข้อเสนอเพื่อให้เกิดการพัฒนาและขับเคลื่อนต่อ ได้ดังนี้ (1) พัฒนาโครงสร้างระบบการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืน ครอบคลุม ยืดหยุ่นหลากหลายรูปแบบ: ประเทศไทยควรพัฒนาเชิงโครงสร้างและกลไกการเงินที่อยู่อาศัยบนพื้นฐานความยั่งยืน ที่มุ่งเน้นให้เกิดความครอบคลุมในทุกระดับ มีความยืดหยุ่นหลากหลายรูปแบบ (2) สร้างแผนการเงินระยะยาวมุ่งเน้นการอยู่อาศัยมากกว่าที่อยู่อาศัยเชิงกายภาพ และลดภาระงบประมาณของรัฐอย่างยั่งยืน: ประเทศไทยต้องมีการกำหนดกรอบระบบการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยในระยะยาว เพื่อการมีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอและมีสุขภาวะสำหรับทุกคน ที่ผสานแนวคิดที่หลากหลายทั้งด้านการเงิน การวางแผนสังคม ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะขับเคลื่อน และมุ่งเน้นการอยู่อาศัยมากกว่าที่อยู่อาศัยเชิงกายภาพ (3) เพิ่มทางเลือกใหม่ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในระบบหลัก: พัฒนาและออกแบบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่หลากหลายและครอบคลุมตามความพร้อมและความต้องการ (4) สร้างช่องทางใหม่ในกองทุนที่มีอยู่แล้วเพื่อการมีที่อยู่อาศัย เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนท้องถิ่น กองทุนสวัสดิการ ฯลฯ (5) ขยายบทบาทของชุมชน ท้องถิ่น ด้านการจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย: โดยปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องให้มีอำนาจหน้าที่ด้านการจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย (6) ส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อที่อยู่อาศัย สร้างความมั่นคงและวินัยทางการเงินให้เกิดขึ้น