มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
1. เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชน
-

-

  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
    • จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ตามแนวทางประชารัฐ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔)
    • ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ชมรมแม่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทยจังหวัด และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำโครงการวิจัยการประเมินและรับรองผลการบริหารจัดการขยะเศษอาหาร ตามแนวทางการทำถังขยะเปียกในการช่วยลดสภาวะโลกร้อนโดยเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีการดำเนินการวิเคราะห์อัตราการเกิดขยะเศษอาหารต่อคนต่อวันของคนไทย ในพื้นที่ ๕ จังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือที่      จ.ลำพูน ภาคกลางที่ จ.ลพบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.เลย และ จ.ยโสธร และภาคใต้ที่ จ.สงขลา โดยเก็บตัวอย่างวัดปริมาณขยะจริงของครัวเรือนที่ร่วมโครงการ รวมถึงเก็บตัวอย่างในศูนย์พัฒนาศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย เป็นเวลา ๑ เดือน เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยอัตราการเกิดขยะเศษอาหารที่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการลดการบริหารขยะของส่วนร่วม และสร้างมูลค่าเพิ่มจากสารปรับปรุงดินที่ได้จากการหมักขยะเศษอาหารในถังขยะเปียกในอนาคต การจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนสามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการดำเนิน "โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน" สู่การขึ้นทะเบียนรับรองเพื่อพัฒนาคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งหากสำเร็จก็จะสามารถทำให้รายได้กลับคืนสู่ชุมชนในอนาคต
  • คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน กขป.
    • คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่ได้กำหนดประเด็นเรื่อง “ขยะ”  เป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนอยู่ ๔ เขต ได้แก่ (๑) เขต ๕ (๒) เขต ๖ (๓) เขต ๙ และ (๔) เขต ๑๐ 
    • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ได้จัดเวทีสานใจ สานพลัง ภาคีสนับสนุนปฏิรูปชุมชนเข้มแข็ง ครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ ว่าด้วยเรื่อง “การจัดการขยะโดยชุมชนเข้มแข็ง”  เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนนำไปสู่ขับเคลื่อน ส่งเสริมสนับสนุน นโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ การ สานพลัง การพัฒนานโยบายสาธารณะ การจัดการความรู้ การสื่อสารและการเคลื่อนไหวทางสังคม