มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : เกิดมาตรการและเครื่องมือในการสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะที่ดี
- เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะ
4.1 ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐซึ่งรวมถึงรัฐวิสาหกิจและเอกชน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาแนวทางปฏิบัติผ่านมาตรการผังเมือง และการออกแบบอาคารที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและเมือง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการปรับปรุงกฎระเบียบการขอใช้ที่ดินของหน่วยงานภาครัฐ

อ้างอิงมติข้อ 4. ขอให้ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ เป็นหน่วยงานหลักในการ

รายงานความก้าวหน้า

กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 โดยมีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งเป็นการปรับปรุงทุก 5 ปี ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน  ใช้เป็นกรอบชี้นำการพัฒนาทางกายภาพในระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับเมือง ระดับชนบท ควบคุมและกำกับการพัฒนาให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้นในด้านความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมขนส่ง ความปลอดภัยของประชาชน สวัสดิภาพของสังคม การป้องกันภัยพิบัติ การป้องกันการขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลให้ประเทศเกิดการพัฒนาและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งนี้ พ.ร.บ.การผังเมือง ฉบับใหม่ เป็นการปฏิรูปการผังเมืองทั้งระบบ ทำให้การบริหารจัดการผังเมืองมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ ตั้งแต่ระบบประเทศสู่ระดับเมืองหรือชุมชน ทำให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้มีมาตรการทางกฎหมายและสภาพบังคับให้การบริหารจัดการผังเมืองอย่างเป็นระบบตามกลไกและกระบวนการที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการผังเมืองสามารถชี้นำการพัฒนาภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างแท้จริง

        ในภาพรวม ได้ปรับประเภทของผังเมือง จากเดิมมี 2 ประเภท ได้แก่ ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ ออกเป็น 2 กลุ่ม 5 ประเภท คือ  1) ผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผังนโยบายระดับประเทศ ผังนโยบายระดับภาค และผังนโยบายระดับจังหวัด 2) ผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ และกระจายอำนาจในการวางและจัดทำผังเมืองให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยมีคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเป็นผู้กำหนดนโยบาย-ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ
ในภาพรวม และมีคณะกรรมการผังเมืองและคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลหน่วยงานภาครัฐให้ปฏิบัติการ

       ผังเมืองเฉพาะ กำหนดให้มี (1) แผนผังแสดงรายละเอียดของกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการ สาธารณะ ตามโครงสร้างพื้นฐาน (2) แผนผังแสดงที่โล่ง  (3) แผนผังแสดงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่อนุรักษ์ และมีข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในเรื่องของที่โล่งเพื่อการนันทนาการและการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมใน 6 ประเภท โดยประเภท ล.1 ได้แก่ สวนสาธารณะ สนามกีฬา ศูนย์เยาวชน สนามกอล์ฟ และอื่นๆ ทั้งยังมี มาตรการควบคุมความหนาแน่นการใช้ที่ดิน ในรูปของ FAR (Floor Area Ratio) และ OSR (Open Space Ratio) ที่เป็นการจัดให้มีพื้นที่โล่งเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อส่งเสริมพื้นที่โล่งสาธารณะภายในเมือง เพื่อประโยชน์ สาธารณะหรือสวนสาธารณะ จะได้รับสิทธิ์ให้มีอัตราส่วนของพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) เพิ่มขึ้น โดยพื้นที่อาคารส่วนเพิ่มต้องไม่เกิน 5 เท่าของพื้นที่โล่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือสวนสาธารณะ ทั้งนี้อัตราส่วนของพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินจะเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 20