มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ :
- ประชาชนตระหนักถึงความสาคัญของการป้องกัน และการคัดกรองโรคมะเร็ง
- สัดส่วนประชากรที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น
- ผู้ป่วยและครอบครัวมีสิทธิในการตัดสินใจทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษา

1.1 สนับสนุนให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในชุมชนและผู้มีประวัติครอบครัวเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง ตระหนักและเข้าถึงการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งอื่นๆ ที่เป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศและพื้นที่ ตามสิทธิประโยชน์ที่กำหนดในระบบหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง และต่อเนื่อง ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสรักษาให้หายขาด อันเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายในการรักษา ทั้งของผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติโดยรวม

อ้างอิงมติข้อ 1. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอเภอ (พชอ.) ผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานปกครองท้องที่ ร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง องค์กรศาสนา และเครือข่ายภาคประชาสังคม ให้เห็นความสำคัญของปัญหาโรคมะเร็ง และสนับสนุนการดำเนินงานขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาโรคมะเร็ง โดยใช้งบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กองทุนอื่นๆ และงบประมาณหรือทรัพยากรขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

รายงานความก้าวหน้า : 

1. สถาบันมะเร็งแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้มีการคัดกรองโรคมะเร็งในชุดสิทธิประโยชน์ ได้แก่

(1) การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มอายุ 30–60 ปี

(2) การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในกลุ่มอายุ 50-70 ปี

(3) การคัดกรองมะเร็งเต้านม ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี ประเด็นปัญหา คือ การดำเนินการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในประชากรยังทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย

2. กรมการแพทย์ ผลักดันนโยบายป้องกันและควบคุมมะเร็ง ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และขับเคลื่อนงานผ่านเขตสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ การเข้าถึงการคัดกรองและการเข้ารับบริการของประชาชน แต่ที่ผ่านมายังพบปัญหา ประชาชนจะยังไม่กล้ามาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ผลการประเมินตามตัวชี้วัดจึงยังต่ำ และได้ปรับตัวชี้วัดใหม่เป็นเรื่องของการเข้ารับบริการ

3. กรมควบคุมโรค ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามะเร็งพยาธิใบไม้ตับและท่อน้ำดี ในพื้นที่ภาคอีสาน 29 จังหวัด มีการคัดกรอง รักษา ส่งต่อ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับชุมชนและสถานศึกษา โดยการจัดการเรียนการสอน รณรงค์ สร้างสื่อความรู้เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ

4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สนับสนุนการดำเนินงานมะเร็งท่อน้ำดีที่ร่วมกับกรมต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข เช่น การคัดกรองมะเร็ง มี อสม. เก็บแบบคัดกรอง การเคาะประตูบ้านแจ้งข่าว และแนะนำการปฏิบัติตัวเบื้องต้นกินร้อนช้อนกลาง ล้างมือ กินปลาสุก กระตุ้นเตือนให้คนในชุมชนตระหนักเรื่องการคัดครองไปตรวจที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงการสร้างบุคคลต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ