มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : สังคมไทยมีความเสมอภาค และความเป็นธรรมทางเพศ
-

อ้างอิงมติ -

รายงานความก้าวหน้า 

  • การประชาสัมพันธ์ด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลความเสมอภาคผ่าน เว็บไซต์และ Facebook ทำให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิสตรี และมีเจตคติที่ดีและการยอมรับความเสมอภาคระหว่างเพศ และการรณรงค์สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิง ชาย พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ หน่วยงานทุกระดับในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างหญิง ชาย และติดตามผลประเมินผลเป็นประจำทุกปีตามแผนแม่บท
  • กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
    • มีระบบต้นแบบ (Prototype) Family Big data ระบบลงทะเบียนครอบครัว แผนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลครอบครัวไทย ระยะ ๕ ปี และฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทำ Family Big Data
    • รายงานการแสดงผลข้อมูลฉบับบูรณาการเพื่อพร้อมใช้งานในการตัดสินใจและดำเนินการ
    • มีระบบฐานข้อมูลต้นแบบ (Prototype Model) ด้านครอบครัว
  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
    • โครงการสำรวจเจตคติของ บุคลากรต่อบทบาทระหว่างเพศบุคลากรของกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการตอบแบบสำรวจเจตคติของบุคลากรต่อบทบาทระหว่างเพศ ดังนี้ (๑) ปี ๒๕๖๒ จำนวน ๕๖๐ คน โดยมีผลสำรวจเจตคติฯในภาพรวม พบว่าเห็นด้วยกับประเด็นเจตคติฯ ร้อยละ ๘๑.๒๙ และไม่เห็นด้วยกับประเด็นเจตคติฯ ร้อยละ ๑๘.๗๑ (๒) ปี ๒๕๖๓ จำนวน ๑,๓๑๔ คน โดย มีผลสำรวจเจตคติฯ ในภาพรวม พบว่าเห็นด้วยกับประเด็นเจตคติฯ ร้อยละ ๗๗.๔๒ และไม่เห็นด้วยร้อยละ ๒๒.๕๘
  • ปี ๒๕๖๕ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) อยู่ระหว่างการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนและพัฒนาให้ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค หญิง ชาย (Gender Focal Point : GFP) ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการยกระดับการทำงานแบบยั่งยืนและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
  • ปี ๒๕๖๕ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) อยู่ระหว่างทบทวนผลการดำเนินงานแผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย พ.ศ 2565 -2570   โดยพิจารณาตามกรอบข้อเสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติวิถีเพศภาวะเสริมสุขภาวะครอบครัว
  • สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เสนอการแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๗ สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษา ต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษาออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษา จากกฎกระทรวง ข้อ ๗ พบปัญหาผู้บริหารสถานศึกษาบังคับนักเรียน นักศึกษาออกจากสถานศึกษาเดิม โดยการให้ย้ายไปศึกษาต่อยังการศึกษานอกระบบ (กศน.) โดยกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นฯ
  • สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยร่วมกับ ๑๐ เครือข่าย โดยมี เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์เครือข่ายคนพิการ เครือข่ายความหลากหลายทางเพศเครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้หญิง เครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายชาติพันธุ์ เครือข่ายแรงงาน เครือข่ายผู้ใช้สารเสพติด และเครือข่ายพนักงานบริการ  เสนอ ร่าง พระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)  เพื่อลดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สถานภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ โดยปัจจุบันร่างกฎหมายของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ผ่านความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน เหลือเพียงขอความเห็นจากกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับหมวด ๓ การบริหารงาน ในเรื่องเกี่ยวเนื่องด้านงบประมาณแผ่นดิน เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป
  • (ร่าง) พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. ... & (ร่าง) พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... สถานการณ์ดำเนินงานมีดังนี้
    • วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๕  สภาผู้แทนราษฎรโหวตรับหลักการในวาระที่ ๑ รับร่างกฎหมายทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมที่ประชุมสภาฯ มีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... สภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒๕ ท่าน เพื่อพิจารณาในวาระที่ ๒
    • วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการจำนวน ๒๑ ท่าน และวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ แต่งตั้งที่ปรึกษาเพิ่มจำนวน ๓ ท่าน รวมคณะที่ปรึกษาจำนวน ๒๔ ท่าน
  • กฎหมายรับรองเพศสภาพ (ฉบับภาคประชาชน) (ร่าง) พ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ การแสดงออกทางเพศสภาพ และคุณลักษณะทางเพศ (กฎหมายรับรองเพศสภาพ) มีการทำประชาพิจารณ์ ๔ ภูมิภาค (กลุ่ม Gender, ๔ ภูมิภาค) ทีมทำงาน (ภาครัฐ  พรรคการเมือง ภาคีเครือข่าย ประชาชน)