มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : การยกเลิกการใช้แร่ใยหิน
-

อ้างอิงมติ -

รายงานความก้าวหน้า 

1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำเนินการ (1) จัดประชุมรับฟังความเห็นผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบในการผลิต : กลุ่มผลิตภัณฑ์กระเบื้องและท่อซิเมนต์ใยหิน และกลุ่มผลิตภัณฑ์เบรคและครัทซ์  (2) เตรียมจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะทำงานเฉพาะกิจ ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน เพื่อพิจารณาจัดทำข้อสรุปเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-สหพันธรัฐรัสเซีย

2. กรมโยธาธิการและผังเมือง  ดำเนินการ  (1)  มีการออกกฎหมายควบคุมอาคารและมีผลบังคับใช้แล้ว โดยมีข้อกำหนดเรื่องวัสดุก่อสร้างที่ใช้ภายในอาคารทั้งราชการและเอกชน ห้ามใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน และการออกแบบอาคารต้องยื่นแบบให้ท้องถิ่นตรวจสอบ หากพบว่ามีการใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จะไม่อนุญาตให้ดำเนินการ  (2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุม พ.ศ.... ขณะนี้ ระหว่างการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยสาระสำคัญระบุไว้ว่า วัสดุก่อสร้างที่ใช้ภายในอาคารต้องไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศ อันอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ใยหิน ซิลิก้า หรือใยแก้ว เว้นแต่ได้ฉาบหรือปิดวัสดุนั้นไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายและสัมผัสกับอากาศในบริเวณใช้สอยของอาคาร  (3) อยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือรื้อถอนอาคาร

3. กรมบัญชีกลาง ดำเนินการ มีการออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๓ และมีผลบังคับใช้แล้ว โดยกำหนดแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหมวด ๗/๒ หากหน่วยงานใดประสงค์จัดจ้าง ต้องกำหนดรายละเอียด TOR ให้ชัดเจนว่าใช้พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะทำให้การจัดซื้อจัดจ้างคล่องตัวขึ้น

4. กรมสรรพากร ดำเนินการ มีการกำหนดมาตรการทางภาษีในกรณีรื้อถอน การเสียภาษีของผู้ประกอบการที่มีรายจ่ายจากค่าอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันอันตรายจากการรื้อถอน ทำลาย และกำจัดขยะที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ

5. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดำเนินการ (1) กำหนดมาตรการบังคับใช้กฎหมายเฝ้าระวังและส่งเสริม และกฎหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย จากเดิมกำหนดค่ามาตรฐานไว้ ๕ เส้นใย ลดเหลือไม่เกิน ๐.๑ เส้นใย  (2)  มีกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ.๒๕๖๓ บังคับใช้เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวสารเคมีอันตราย (รวมถึงแอสเบสตอส) ตั้งแต่แรกรับเข้าทำงาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง รวมถึงในกรณีที่สภาพแวดล้อมมีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างจากการทำงานในลักษณะเดิม   (3) อยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการประเมินอันตราย บังคับให้นายจ้างที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งประเด็นแร่ใยหินจะเข้าข่ายการบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับนี้