มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : 1. ไม่เกิดภัยพิบัติจากข้อมูลข่าวสาร และข่าวปลอม
2. มีระบบจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันเวลา เชื่อถือได้ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายในระดับต่างๆ
3. ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการจัดการตนเองเมื่อเกิดวิกฤตสุขภาพ
1.6 ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนากลไกในระดับพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และประชาชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคระบาดในพื้นที่ รอยต่อระหว่างจังหวัดและประเทศ รวมถึงการบริหารจัดการสิ่งของอุปโภคบริโภคให้เพียงพอและตรงตามความจำเป็นของหน่วยงาน องค์กร และประชาชนในพื้นที่

อ้างอิงมติข้อ 1. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ บูรณาการด้านการบริหารจัดการ เตรียมความพร้อมศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ ผสานความร่วมมือกับต่างประเทศ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพ โดยใช้บทเรียนจากการระบาดโรคโควิด 19 เพื่อให้ประเทศมีระบบการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่ชัดเจนในทุกระดับ สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทันเวลาอย่างมีระบบ และมีการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่มีธรรมาภิบาล   

รายงานความก้าวหน้า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเมื่อ 23 สิงหาคม 2564 สนับสนุนให้มีผู้แทนของ สมัชชาสุขภาพจังหวัด ร่วมประชุม ในคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ตาม มติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) เสนอ ให้มีตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ร่วมรับรู้และร่วมดำเนินมาตรการควบคุมโรคภายในจังหวัด (มี 45 จังหวัดเข้าร่วม)