มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : 1. ไม่เกิดภัยพิบัติจากข้อมูลข่าวสาร และข่าวปลอม
2. มีระบบจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันเวลา เชื่อถือได้ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายในระดับต่างๆ
3. ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการจัดการตนเองเมื่อเกิดวิกฤตสุขภาพ

1.5 กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการงบประมาณในการเฝ้าระวัง ป้องกัน คัดกรอง รักษา ฟื้นฟูและควบคุมการแพร่ระบาดที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลรูปแบบการแพทย์ทางไกล การตรวจคัดกรอง การส่งยาเวชภัณฑ์แก่ผู้ป่วยทางการขนส่งทั้งทางบก น้ำ อากาศ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ รวมถึงการให้บริการสุขภาพอื่นนอกเหนือจากโรคระบาดที่ยังคงดำเนินไปได้โดยไม่ลดประสิทธิภาพลง และต้องเท่าเทียมกันในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง

อ้างอิงมติข้อ 1. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ บูรณาการด้านการบริหารจัดการ เตรียมความพร้อมศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ ผสานความร่วมมือกับต่างประเทศ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพ โดยใช้บทเรียนจากการระบาดโรคโควิด 19 เพื่อให้ประเทศมีระบบการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่ชัดเจนในทุกระดับ สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทันเวลาอย่างมีระบบ และมีการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่มีธรรมาภิบาล   

รายงานความก้าวหน้า :

กรมบัญชีกลาง: ร่วมกับ สปสช. กำหนดสิทธิกับบุคคลในราชการและครอบครัว (ค่าตรวจรักษา ยา ชุดตรวจ ATK) และ 3 กองทุน หารือแนวปฏิบัติร่วมกันให้ สปสช. รับเป็นหน่วยหลักดำเนินการต่อ

คปภ.: ปรับเงื่อนไข  สัญญาให้การเจ็บป่วยโดยโควิด-19 สามารถรับการเยียวยาได้ แต่ก็ข้อจำกัด และปรับเงื่อนไขความคุ้มครองให้ยืดหยุ่น