มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : 1. ไม่เกิดภัยพิบัติจากข้อมูลข่าวสาร และข่าวปลอม
2. มีระบบจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันเวลา เชื่อถือได้ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายในระดับต่างๆ
3. ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการจัดการตนเองเมื่อเกิดวิกฤตสุขภาพ

1.4 กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าประเภทยารักษาโรค เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอและทันการณ์ เช่น ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้พร้อมใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชนอย่างเพียงพอและปลอดภัย โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และขอให้กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการควบคุมราคา/ปริมาณสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542

อ้างอิงมติข้อ 1. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ บูรณาการด้านการบริหารจัดการ เตรียมความพร้อมศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ ผสานความร่วมมือกับต่างประเทศ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพ โดยใช้บทเรียนจากการระบาดโรคโควิด 19 เพื่อให้ประเทศมีระบบการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่ชัดเจนในทุกระดับ สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทันเวลาอย่างมีระบบ และมีการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่มีธรรมาภิบาล   

รายงานความก้าวหน้า :

1. กรมศุลกากร: ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการยกเว้น อากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

2. กระทรวงการคลัง:  ออกประกาศ ยกเว้นอากรสำหรับของในภาค 2 แห่งพิกัดอัตราศุลกากรท้ายพ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 สำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อรักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรค ตามรายการที่ สธ. ประกาศกำหนด

3. กระทรวงพาณิชย์: ออกประกาศคณะกรรมการกลาง ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2564 / ออกประกาศ กกร. ฉบับที่ 63 พ.ศ.2564 เรื่อง การแจ้งข้อมูลและจัดทำบัญชีคุมสินค้าชุดตรวจและน้ำยา ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV2