มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : 1. ไม่เกิดภัยพิบัติจากข้อมูลข่าวสาร และข่าวปลอม
2. มีระบบจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันเวลา เชื่อถือได้ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายในระดับต่างๆ
3. ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการจัดการตนเองเมื่อเกิดวิกฤตสุขภาพ

1.3 คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทบทวนปรับปรุง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รวมถึงหน่วยงานอื่น ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ทันสมัยและปิดจุดอ่อนซึ่งเป็นข้อจำกัดในการบังคับใช้

อ้างอิงมติข้อ 1. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ บูรณาการด้านการบริหารจัดการ เตรียมความพร้อมศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ ผสานความร่วมมือกับต่างประเทศ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพ โดยใช้บทเรียนจากการระบาดโรคโควิด 19 เพื่อให้ประเทศมีระบบการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่ชัดเจนในทุกระดับ สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทันเวลาอย่างมีระบบ และมีการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่มีธรรมาภิบาล   

 

รายงานความก้าวหน้า

กระทรวงสาธารณสุข:

- เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (เมื่อ 22 ธ.ค. 2563) ครม. มีมติอนุมัติหลักการ คกก.กฤษฎีกาตรวจพิจารณาและส่งต่อ สำนักเลขาฯ ครม. (ครม.ให้มาพิจารณาข้อสังเกตเพิ่มเติม)

- ครม. เห็นชอบ ร่าง พรก.แก้ไขเพิ่มเติม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ.... (เมื่อ 21 กันยายน 2564)